วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์



ความหมายของระบบปฏิบัติการ
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System)
เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ
ความหมายของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ คือ กลุ่มโปรแกรมซึ่งได้รับการจัดระเบียบให้เป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่าง
เครื่องคอมพิวเตอร์และ ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและ การใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากร (Resource) ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิผลที่ดี

โดย OS เองนั้น อาจเป็นได้ทั้ง Software, Hardware, Firmware

· Software OS - เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่อง ปรับปรุงแก้ไขง่าย ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว OS ส่วนใหญ่จะเป็น Software OS

· Hardware OS - ทำหน้าที่เดียวกับ Software OS แต่ทำงานเร็วกว่า เป็น OS ที่สร้างจากอุปกรณ์ electronic เป็นส่วนหนึ่งของ Hardware เครื่อง ปรับปรุงแก้ไขยาก มีราคาแพง

· Firmware OS - หมายถึง โปรแกรมส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ คือ ไมโครโปรแกรม (Microprogram) ไมโครโปรแกรม เกิดจาก คำสั่งไมโคร (Microinstruction) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งต่ำสุดของระบบควบคุมการทำงานของ CPU หลาย ๆ คำสั่งรวมกัน
คำสั่งภาษาเครื่อง 1 คำสั่งเกิดจากการทำงานของ Microprogram 1 โปรแกรม (หรือเกิดจากหลาย Microinstruction มารวมกัน) การแก้ไข เปลี่ยนแปลง คำสั่งภาษาเครื่อง ทำโดยสร้าง Microprogram ขึ้นใหม่ ซึ่งทำได้ยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง
ซึ่งหากเทียบความเร็วในการทำงานกันแล้ว

Software OS < Firmware OS < Hardware OS

* OS ทั่วไป สร้างเป็น Software แต่บางส่วนที่ถูกใช้งานบ่อยจะใช้เป็น Firmware

หน้าที่ของ OS

ตัว OS ถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์หลัก คือ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะที่ผู้ใช้ ไม่ต้องทราบกลไกการทำ หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ เราจึงแบ่งหน้าที่ของ OS ได้ดังนี้
1.ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)

ผู้ใช้สามารถติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องผ่านทาง OS ได้ OS จะส่งเครื่องหมายพร้อมต์ (Prompt) ออกสู่จอรับคำสั่งจากผู้ใช้ โดยตรง ตัว OS จึงเป็นตัวกลางในการทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับ Hardware กับเครื่อง นอกจากนี้ผู้ใช้อาจเขียนโปรแกรมเพื่องาน ซึ่งกรณีนี้ไม่สามารถกับ OS ได้โดยผ่านทาง

System Call จึงเป็นการเรียกใช้รูทีน (โปรแกรมย่อย) ต่าง ๆ ของโปรแกรมของผู้ใช้ ทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้
2.ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

เนื่องจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทาง OS อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในของเครื่อง ดังนั้นตัว OS จึงต้องมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องกัน OS จึงมีส่วนประกอบเป็นรูทีนต่าง ๆ ที่ควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิด อุปกรณ์แต่ละชนิดก็ต้องมีการควบคุมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น รูทีนควบคุม Disk Drives รูที่นควบคุมจอภาพ เป็นต้น
3.การจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ

ทรัพยากร (Resource) คือสิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้ เช่น CPU Memory Disk เป็นต้น เหตุที่ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเพราะทรัพยากรของระบบมีจำกัด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ CPU ในระบบที่มี CPU ตัวเดียวแต่ทำงานหลายโปรแกรม เราต้องแบ่งสรรการใช้ CPU ให้กับโปรแกรมอย่างเหมาะสมมีทรัยากรอยู่หลายประเภท แต่ละโปรเซส หรือโปรแกรมมีความต้องการใช้ทรัพยากร อย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อมกัน OS ต้องจัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ตามความต้องการของแต่ละโปรเซส หรือ โปรแกรมเหล่านั้น

ดังนั้นหน้าที่อันสำคัญอีกประการหนึ่งของ OS ก็คือ จัดสรรการใช้ทรัพยากรของระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้า OS จัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบก็สามารถรันโปรแกรม ได้รวดเร็ว และ ได้งานเพิ่มขึ้น ทรัพยากรหลักที่ OS จัดสรรได้แก่

โปรเซสเซอร์( ซีพียู )

หน่วยความจำ

อุปกรณ์ อินพุต เอาท์พุต

ข้อมูล ( data )

ระบบฐานข้อมูล



ความหมายของระบบฐานข้อมูล

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต


ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS


องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลเป็นเพียงวิธีคิดในการประมวลผลรูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่การใช้ฐานข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้

1. แอพลิเคชันฐานข้อมูล (Database Application)

2. ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System หรือ DBMS)

3. ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server)

4. ข้อมูล (Data)

5. ผู้บริหารฐานข้อมูล ((Database Administrator หรือ DBA)


แอพพลิเคชันฐานข้อมูล

เป็นแอพพลิเคชันที่สร้างไว้ให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก ซึ่งมี

รูปแบบการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบเมนูหรือกราฟฟิก โยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลเลยก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้เช่น บริการเงินสด ATM


ระบบจัดการฐานข้อมูล

ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้น


หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล มีดังนี้

1. กำหนดมาตรฐานข้อมูล

2. ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ

3. ดูแล-จัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ

4. จัดเรื่องการสำรอง และฟื้นสภาพแฟ้มข้อมูล

5. จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ (Physical Organization)

6. รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในฐานข้อมูล และป้องกันไม่ใช้ข้อมูลสูญหาย

7. บำรุงรักษาฐานข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมแอพพลิเคชันอื่น ๆ

8. เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูลในระดับ

ต่าง ๆ


โปรแกรมการรับสมัครนักศึกษา

โปรแกรมการลงทะเบียน

โปรแกรมพฤติกรรมนักศึกษา



ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์

เป็นคอมพิวเตอร์ที่คอยให้บริการการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ระบบจัดการฐานข้อมูลทำงานอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความรวดเร็วในการทำงานสูงกว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโดยทั่วไป

ข้อมูล

ข้อมูล คือ เนื้อหาของข้อมูลที่เราใช้งาน ซึ่งจะถูกเก็บในหน่วยความจำของดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ โยจะถูกเรียกมาใช้งานจากระบบจัดการฐานข้อมูล

ผู้บริหารฐานข้อมูล

ผู้บริหารฐานข้อมูล คือ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ให้ทำงานอย่างปกติด้วย

ระบบเลขฐาน (รายวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์)



ระบบเลขฐาน
เลขฐาน หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่มีจำนวนหลัก (Digit) ตามชื่อของฐาน
นั้นๆเช่น เลขฐานสอง ฐานแปด และฐานสิบ ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขจำนวนสองหลัก (0-1) แปดหลัก (0-7) และสิบหลัก (0-9) ตามลำดับ ดังรูปในตารางที่ 1
ในระบบคอมพิวเตอร์มีการใช้ระบบเลขฐาน 4 แบบ ประกอบด้วย
1).เลขฐานสอง (Binary Number)
2).เลขฐานแปด (Octal Number)
3).เลขฐานสิบ (Decimal Number)
4).เลขฐานสิบหก (Hexadecimal Number)


1).เลขฐานสอง

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสองหลัก ( 0 และ 1) เป็นเลขฐานเดียวที่เข้ากันได้กับ Hardware ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เพราะการใช้เลขฐานอื่น จะสร้างความยุ่งยากให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก เช่น เลขฐานสิบมีตัวเลขที่เป็นสถานะที่ต่างกันถึง 10 ตัว ในขณะที่ระบบไฟฟ้ามีเพียง 2 สถานะ ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งๆมีเพียงสถานะเดียวเท่านั้น แต่ละหลักของเลขฐานสอง เรียกว่า Binary Digit (BIT)

2).เลขฐานแปด

เลขฐานแปด มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 3 หลัก แทนด้วยเลข
ฐานแปด 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 6 บิท แทนด้วยเลขฐานแปด 2 บิท การใช้เลขฐานแปดแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง

3).เลขฐานสิบ

คือตัวเลขที่มีค่าไม่ซ้ำกันสิบหลัก (0,1,2,…,9) เป็นเลขฐานที่มนุษย์คุ้นเคยและใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ตัวเลขที่มีจำนวนมากกว่า 9 ให้ใช้ 10 ซึ่งเป็นการกลับไปใช้เลข 1 และ 0 อีก เพียงแต่ค่าของ 1 เปลี่ยนไปเป็น 10 เท่าของตัวมันเอง เช่น 333 (สามร้อยสามสิบสาม) แม้จะใช้ตัวเลข 3 ทั้งหมด แต่ตำแหน่งของตัวเลขย่อมมีความหมายตามตำแหน่งของแต่ละหลักนั้น กล่าวคือ หลักหน่วยน้อยกว่าหลักสิบ 10 เท่า หลักสิบน้อยกว่าหลักร้อย 10 เท่า ตามลำดับ

4).เลขฐานสิบหก

เลขฐานสิบหก มีความสัมพันธ์กับเลขฐานสอง คือ เลขฐานสองจำนวน 4 หลัก แทนด้วย
เลขฐานสิบหก 1 หลัก ดังนั้นเราจึงสามารถเขียนเลขฐานสอง 8 บิทแทนด้วยเลขฐานสิบหก 2 บิท การใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสองทำให้จำนวนบิทสั้นลง

ใบความรู้รายวิชาหลักการออกแบบเว็บเพจ



หลักการออกแบบเว็บเพจที่จริงแล้วไม่มีอะไรตายตัวหรอกครับ เพียงแต่เราต้องยึดหลักเกณฑ์เพื่อความเป็นสากลนิยมและความเหมาะสมของเว็บเพจ การออกแบบเว็บเพจนั้นเราจะคำนึงของผู้เยี่ยมชมเป็นหลักว่า เว็บที่เราทำออกมานั้นต้องการดึงดูดคนประเภทไหนเข้ามา เราก็ทำออกมาตามที่คนประเภทนั้นเข้ามาเช่น จะทำเว็บแนววัยรุ่น คนที่จะมาเป็นลูกค้าเราก็คือพวกวัยรุ่น ดังนั้นเราจึงต้องออกแบบให้ ทันสมัย น่ารัก ถูกใจวัยเฮ้วทั้งหลาย แต่การออกแบบนั้นจะทำอย่างไรใช้ สีไหน ต้องมีอะไรบ้าง เราลองมาดูหลักเกณฑ์กันดีกว่าครับ(หลักเกณฑ์นี้ใช้ได้กับทุกเว็บและทุกประเภทเลยนะครับ)
ต้องอ่านง่ายสบายตา (Read Ability) ตัวหนังสือที่เราใช้นั้นต้องไม่เล็กเกินไปหรือไม่ใหญ่เกินไป (ปัจจุบันมีการใช้ CSS Style เพื่อกำหนดให้กับขนาดหรือสีของตัวอักษรแบบตายตัว)และควรใช้สีที่ตัดกับแบ็คกราว เช่นแบ็คกราวสีขาวไม่ควรใช้สีเขียวอ่อน,เหลือง หรือสีอื่นที่อ่อนๆจางๆ

โหลดไม่ช้าหน้าไม่ยาว (Fast Load) ส่วนนี้สำคัญนะครับ ถ้าคุณทำเว็บออกมาแล้วโหลดช้ามากก็จะทำให้ลูกค้าหันไปดูเว็บอื่นรอหรือร้ายกว่านั้นปิดเว็บของเราไปเลยก็ได้ แต่ก็อย่างว่านะครับ Internet ประเทศไทยยังไม่พัฒนาเลยช้านิดหน่อย ถ้าช้าแบบพอทนได้ก็รอกันต่อไป ส่วนที่ว่าหน้าไม่ยาวนั้นคือ เว็บบางเว็บ(ส่วนใหญ่จะเป็นเว็บพอทอล เช่น hunsa,sanook) จะทำหน้าที่ยาวมาก กว่าจะเลื่อนสกอลบาร์ลงไปถึงเลื่อนเม้าเลื่อกลูกกลิ้งกันจนจะสุดโต๊ะ(เว่อไป!..) เอาเป็นว่า จะให้ดีไม่ควรยาวเกิน 3 หน้าจอครับ

อัพเดทข่าวให้บ่อย (Update) ส่วนนี้เป็นจุดเชิดชูของเว็บเลยนะครับ ผมขอร้องเลยครับว่าถ้าทำเว็บแล้วอย่าทำครั้งเดียวทิ้ง ขอให้ทำแล้วทำตลอดไปเรื่อยๆเลยครับ (พวกทำครั้งเดียวแล้วไม่อัพเดทน่าจะเหมาะกับทำเว็บแนวประวัติของตัวเองมากกว่า) เพราะผมเข้าไปหลายเว็บตามเว็บสมัครเล่นมีประมาณ 60% เลยครับที่ทำแล้วปล่อยทิ้งไว้ไปดูกี่ทีกี่ครั้ง Last Update ก็ยังอยู่ที่ 02/06/1999 เจออย่างงี้ก็น่าเบื่อนะครับ ผมขอแนะนำว่า ถ้าจะให้ดีข้อมูลควร update ทุกๆ 2 - 3 วันต่อครั้ง หรือ 1 อาทิตย์ครั้ง หรือ 15 วันครั้ง หรือถ้าเดือนละครั้งอันนี้ก็ไม่ไหวนะครับ แต่ถ้าท่านไม่มีเวลาจะ update จริงๆ ควรจะเขียนกล่าวไว้ที่หน้าเว็บว่าจะงด update ชั่วคราวเพื่อจะได้ไม่เสีย creadit ของตัวเองครับ และให้ลูกค้าติดตามมาดูบ่อยๆด้วย

อย่าปล่อยให้มีคำผิด (Good Spelling) ถ้าท่านทำเว็บมาแล้วปล่อยให้มีคำผิดขึ้นมายิ่งเป็นข้อความใหญ่ๆแล้วด้วยจะทำให้เว็บเราดูด้อยไปเลยครับจะดูเหมือนกับว่า webmaster เว็บนั้นไม่เป็นมือโปรเลย แต่สำหรับคำผิดเล็กๆน้อยๆ ตามบทความถ้าท่านมีเยอะจนไม่สามารถตรวจสอบได้ทุกหน้าก็พออนุโลมได้ครับ

ทุกทิศมีที่ไป (Navigation Bar) การหลงในเว็บเพจหงุดหงิดกว่าการเดินหลงในห้างอีกนะครับ เพราะในเว็บมันไม่มีอะไรให้ดูนอกจากหน้าจอ และก็เสียเวลามากกว่า และรู้สึกว่าตัวเองโง่ไปถนัดตาเลยว่าทำไมกะอีแค่เว็บๆเดียวทำเราวุ่ววายไปหมด ดังนั้นทุกหน้าเราต้องมีเมนูไปกลับหน้าแรกและหน้าอื่นๆติดอยู่เสมอ เพื่อความสะดวกของลูกค้า

เครื่องหมายมีให้ติดตาม (Use Sign) ภาพหนึ่งภาพแทนความหมายได้พันคำ การใช้เครื่องหมายที่ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น "ลูกศร" ที่จะนำทางให้คุณคลิ้กเพื่อไปดูรายละเอียดในหน้าถัดไป เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้ลูกค้ารู้ว่า คุณกำลังจะบอกอะไรกับเขา

ทุกคำถามต้องมีคำตอบ (FAQ) แม้คุณจะบอกว่า เว็บไซต์ของคุณ ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่ายเท่าใดก็ตาม แต่เชื่อผมเถอะว่าลูกค้ามีคำถามในใจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งถ้าคุณตอบได้ทันที ลูกค้าจะรู้สึกแฮปปี้และประทับใจในบริการของคุณ การใส่ FAQ เข้าไปในไซต์ เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบที่ต้องการด้วยตัวเองได้ จะช่วยให้ลูกค้าไม่ลังเล และตัดสินใจเป็นลูกค้าของคุณได้ง่ายดายขึ้น ซึ่งในส่วนของ FAQ นี้ก็จะมีทั้งคำถามคำตอบในเรื่องของการท่องไซต์ เพื่อจะได้เข้าถึงบริการส่วนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ยิ่งในเว็บที่เกี่ยวกับ E-commerce

ทุกคำชอบต้องมีโชว์ (Testimonial) คำชมจากลูกค้านั้นมีความหมายและมีความสำคัญมาก มันคือตัวที่แสดงถึงความเชื่อใจ และสร้าง Creadit ให้เราได้มากกว่าการที่เราจะมานั่งชมมตัวเอง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้น่าจะเอามาโชว์เพื่อให้ลูกค้าคนอื่นเห็นและเกิดความมั่นใจ ยิ่งในเว็บที่เกี่ยวกับ E-commerce

เบอร์โทรชัดไม่ขัดตา (Logo, Brand Name & Tel No.) ตัวนี้ไม่ใช่แค่เบอร์โทรอย่างเดียวนะครับ มันรวมไปถึงข้อมูลที่ใช้ติดต่อเราทั้งหมด ไม่ว่าจะ เบอร์โทร E-mail ICQ logo แผนที่ หรืออื่นๆ เราควรจะโชว์ให้ชัดเจนและเป็นจริงที่สุดเพื่อการติดต่อกลับที่สะดวกหรือเป็นไปได้ให้ติดตั้งสคิ้ปในการติดต่อกลับแบบอัตโนมัติก็จะทำให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

เพื่อลูกค้าใช้อ้างอิง (Reference Address) การที่คุณใส่ที่อยู่ที่ติดต่อได้เข้าไปที่ด้านท้ายของทุกเว็บเพจ ช่วยสร้างโอกาสธุรกิจให้กับคุณได้ ทำไมหรือครับ เพราะนอกจากลูกค้าจะจำได้ว่า ที่ติดต่อหรือธุรกิจของคุณอยู่ที่ไหน เขาก็จะไม่ต้องทำได้ทันที นอกจากนี้ เวลาที่ลูกค้าพิมพ์เว็บเพจของคุณออกไป ที่อยู่ที่ติดต่อเหล่านี้ก็จะติดไปด้วย ซึ่งหากเป็นการส่งต่อเอกสารนั้นให้กับผู้อื่น คุณก็จะได้กลุ่มเป้าหมายที่สามารถติดต่อคุณได้ทันทีโดยไม่ต้องออนไลน์ เพื่อค้นหาข้อมูลติดต่อให้วุ่นวายแต่อย่างใด (เช่นเว็บ 2capsule ถ้าท่านต้องการ Print บทความก็จะมี logo และ URL ติดอยู่ เพื่อการโปรโมตไปในตัว) จะเหมาะกับเว็บแนว E-Commerce มากๆ

ทุกอย่างต้องหาได้ (Search) หากเว็บคุณเป็นเว็บขายสินค้าหลายๆประเภทหรือมีบทความหลายๆเรื่องแล้วหละก็ ขาดไม่ได้เลยครับสำหรับเครื่องมือที่ที่ไว้สำหรับ Search ในเว็บของเราเอง เพื่อการค้นหาที่สะดวกขึ้นและ ลดระยะเวลาของลูกค้าไปในตัวด้วย

ทุกอย่างง่ายทำได้เอง (Help) ส่วนนี้จะค้ลายๆกับ FAQ แต่ว่ามันจะเป็นส่วนที่สอนการใช้งานของเว็บของคุณ ยิ่งเว็บของคุณมีระบบเยอะก็จำเป็นที่จะต้องมี Comment หรืคำแนะนำในการใช้ทุกจุด เพื่อความไม่ผิดพลาดของลูกค้า

ท่องไซต์ให้ครื้นเครง (Fun Stuff) การใส่ลูกเล่นที่น่าสนใจ หรือสอดแทรกความสุกสนานบางอย่างเข้าไปในไซต์ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงนัก ผมก็คิดว่า คุณน่าจะสันหามาใส่เข้าไปในไซต์ของคุณ บนอินเทอร์เน็ตจะมีหลายๆ ไซต์ที่ให้บริการ การ์ตูนฟรี เรื่องขำขันฟรี คุณสามารถทำลิงก์เพื่อไปดึงเนื้อหาเหล่านี้มาปรากฎในไซต์ของคุณได้ เพื่อให้ยูสเซอร์ไม่รู้สึกว่าไซต์ของคุณเน้นวิชาการจนเกินไป

ต้องเกรงใจลูกค้าเรา (Friendly Dialog) การเกรงใจในที่นี้หมายถึงการใช้คำพูดในเว็บ ควรใช้ให้เหมาะสม และเป็นกันเองที่สุดหรือสากลที่สุด เพื่อการติดต่อสื่อสารที่ง่าย และเป็นมิตร ยิ่งใน E-Commerce ถ้าลูกค้าเป็นมิตรกับเรา เขาก็ย่อมจะเลือกซื้อสินค้าของเรามากกว่าเว็บอื่นที่ไม่เป็นมิตร

ลดขนาดภาพให้เล็กสวยคงเดิม (Fix Image Size) การลดขนาดของรูปในที่นี้ผมไม่ได้หมายความว่า ให้เอารูปขนาด 500 x 500 มาย่อในโปรแกรมเขียนเว็บให้เลือก 200 x 200 นะครับ เพราะการย่อแบบนั้น มันย่อให้รูปที่เราเปิดดูเล็กลงได้จริงแต่ขนาดหรือ Size นั้นก็ยังเท่าเดิม เวลาโหลดก็โลหดนานเท่าเดิมดังนั้นมันจะไม่ช่วยอะไรขึ้นมาเลย แต่สิ่งที่ผมจะบอกคุณคือ ให้ย่อขนาด หรือลดขนาดของภาพโดยใช้โปรแกรมพวก Photoshop หรือโปรแกรมเกี่ยวกับการแต่งภาพอื่นๆ เพราะการย่อขนาดในนั้นจะช่วยทำให้ภาพของคุณลดขนาดตามไปด้วย แต่การลดขนาดนั้นคุณก็ต้องมีความรู้ทางโปรแกรมกราฟฟิกนั้นไม่น้อยเหมือนกัน เพราะเราต้องลดขนาดรูปให้ได้เยอะที่สุดแต่ยังสวยคงเดิม(คงเคยเห็นนะครับ รูปที่ ขนาด 50KB กับ 45KB สวยเหมือนกัน เพราะคนที่ย่อขนาดนั้นมีความสามารถพอครับ) แต่ปัจจุบันมีโปรแกรมออกมาเพื่อการลดขนาดของรูปโดยเฉพาะ ซึ่งผมจะนำมาให้ download กัน ลองติดตามนะครับ

เรื่องของ Tag เปิดบ่อยๆ (Open tag) Tag ใน HTML นั้น มันจะแสดงออกมาก็ต่อเมื่อมันอ่านเจอ Tag ปิด ดังนั้นให้คุณเขียนเว็บแล้วเปิด ปิด Tag บ่อยๆเพื่อความเร็วในการแสดงผลครับ

Link ผิดต้องอย่าปล่อย (Link Break) เมื่อทำเว็บเสร็จแล้ว พยายามตรวจสอบ link ให้แน่ใจว่าจะไม่ผิดพลาด แต่บางครั้งที่คุณ link ไปเว็บอื่นแล้วเขา ปิดเว็บลงไปแล้วก็ช่วยไม่ได้นะครับ คุณต้องลองติดตามดูบ่อยๆ

ลดขนาด file เว็บเรา ( Fix File Size) ขนาดของ file html นั้นแต่ก่อนไม่ค่อยมีการออกเว็บเท่าไรจึงมีขนาดไม่เกิน 20 -30 kb แต่ปัจจุบันมีการเล่นสคิ้ปและรูปแบบและเนื้อหามากขึ้น ขนาดจึง ไปอยู่ที่ 70 - 150 kb แต่ตามความคิดผมไม่ควรจะเกิน 50 - 80 kb ครับ เพราะยิ่งมากก็ยิ่งช้า เหมือนกับเรากำลัง download file ชนิดหนึ่งที่มีขนาด 100 kb คุณว่านานไหมล่ะ(แค่ตัวหนังสือไม่รวมรูปหรืออื่นๆนะ) แต่ถ้าจำเป็นก็ไม่เป็นไรครับ เพราะปัจจุบัน เรื่องของ Internet เร็วพอสมควร

รู้จักกับการสร้างเว็บด้วย PHP



PHP (PHP Hypertext Preprocessor)
ความเป็นมา
PHP เกิดในปี 1994 โดย Rasmus Lerdorf โปรแกรมเมอร์ชาวสหรัฐอเมริกาได้คิดค้นสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บส่วนตัวของเขา โดยใช้ข้อดีของภาษา C และ Perl เรียกว่า Personal Home Page และได้สร้างส่วนติดต่อกับฐานข้อมูลชื่อว่า Form Interpreter ( FI ) รวมทั้งสองส่วน เรียกว่า PHP/FI ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของ PHP มีคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเขาแล้วเกิดชอบจึงติดต่อขอเอาโค้ดไปใช้บ้าง และนำไปพัฒนาต่อ ในลักษณะของ Open Source ภายหลังมีความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากภายใน 3 ปีมีเว็บไซต์ที่ใช้ PHP/FI ในติดต่อฐานข้อมูลและแสดงผลแบบ ไดนามิกและอื่นๆ มากกว่า 50000 ไซต์

PHP เป็นภาษาสคริปต์ที่ประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ไปแสดงผลที่ฝั่งไคลเอ็นต์ผ่านบราวเซอร์เช่นเดียวกับ CGI และ ASP ต่อมาเมื่อมีผู้ใช้มากขึ้นจึงมีการร้องขอให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของ PHP/FI ให้สูงขึ้น Rasmus Lerdorf ก็ได้ผู้ที่มาช่วยพัฒนาอีก 2 คนคือ Zeev Suraski และ Andi Gutmans ชาวอิสราเอล ซึ่งปรับปรุงโค้ดของ Lerdorf ใหม่โดยใช้ C++ ต่อมาก็มีเพิ่มเข้ามาอีก 3 คน คือ Stig Bakken รับผิดชอบความสามารถในการติดต่อ Oracle, Shane Caraveo รับผิดชอบดูแล PHP บน Window 9x/NT, และ Jim Winstead รับผิดชอบการตรวจ ความบกพร่องต่างๆ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Professional Home Page

PHP3 ได้ออกสู่สายตาของนักโปรแกรมเมอร์เมื่อ มิถุนายน 1998 ที่ผ่านมาในเวอร์ชั่นนี้มีคุณสมบัติเด่นคือสนับสนุนระบบปฏิบัติการทั้ง Window 95/98/ME/NT, Linux และเว็บเซร์ฟเวอร์ อย่าง IIS, PWS, Apache, OmniHTTPd สนับสนุน ระบบฐานข้อมูลได้หลายรูปแบบเช่น SQL Server, MySQL, mSQL, Oracle, Informix, ODBC

เวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุบันคือ PHP4 ซึ่งได้เพิ่ม Functions การทำงานในด้านต่างๆให้มากและง่ายขึ้นโดย Zend ซึ่งมี Zeev และ Andi Gutmans ได้ร่วมก่อตั้งขึ้น ( http://www.zend.com ) ในเวอร์ชั่นนี้จะเป็น compile script ซึ่งในเวอร์ชั่นหน้านี้จะเป็น embed script interpreter ในปัจจุบันมีคนใช้ PHP สูงกว่า 5,100,000 sites แล้วทั่วโลก ผู้พัฒนาได้ตั้งชื่อของง PHP ใหม่ว่า PHP: Hypertext Preprocessor ซึ่งหมายถึงมีประสิทธิภาพระดับโปรเฟสเซอร์สำหรับไฮเปอร์เท็กซ์

ความสามารถของ PHP นั้นในความสามารถพื้นฐานที่ภาษาสคริปต์ทั่วๆไปมีนั้น PHP ก็มีความสามารถทำได้ทัดเทียมเช่นเดียวกันเช่น การรับข้อมูลจากฟอร์ม, การสร้าง Content ในลักษณะ Dynamic, รับส่ง Cookies, สร้าง, เปิด, อ่าน และปิดไฟล์ในระบบ, การรองรับระบบจัดการฐานข้อมูลมากมายดังนี้

Adabas D
Ingres
Oracle (OCI7 and OCI8)

Dbase
InterBase
Ovrimos

Empress
FrontBase
PostgreSQL

FilePro (read-only)
mSQL
Solid

Hyperwave
Direct MS-SQL
Sybase

IBM DB2
MySQL
Velocis

Informix
ODBC
Unix dbm


แต่ตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทาง NINETO E-MAGAZINE ONLINE เลือกมาใช้ในบทความนี้คือ MySQL เหตุที่เลือกตัวนี้คือ เป็นที่นิยมกว้างขว้างและประเด็นหนึ่งที่จะต้องพิจารณาคือ Free เพราะ MySQL จัดเป็น Software ประเภท Freeware รองรับ OS ได้หลายระบบด้วยกัน ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้า Download ซึ่งเราได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว

Protocol Support ความสามารถในการรองรับโปรโตคอลหลายแบบทั้ง IMAP, SNMP, NNTP, POP3, HTTP และยังมีไลบารีสำหรับติดต่อ กับแอพพลิเคชั่นได้มากมาย มีความยืดหยุ่นสูงสามารถนำไปสร้างแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย และอีกข้อดีหนึ่งที่โดเด่นคือของ PHP ก็คือสามารถแทรกลงในแท็ก HTML ในตำแหน่งใดก็ได้



จะใช้ PHP ต้องมีอะไรบ้าง
เนื่องจากว่า PHP ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัว Web Server ดังนั้นถ้าจะใช้ PHP ก็จะต้องดูก่อนว่า Web server นั้นสามารถใช้สคริปต์ PHP ได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น PHP สามารถใช้ได้กับ Apache WebServer และ Personal Web Server (PWP) สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95/98/NT

ในกรณีของ Apache เราสามารถใช้ PHP ได้สองรูปแบบคือ ในลักษณะของ CGI และ Apache Module ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า ถ้าใช้ PHP เป็นแบบโมดูล PHP จะเป็นส่วนหนึ่งของ Apache หรือเป็นส่วนขยายในการทำงานนั่นเอง ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่าแบบที่เป็น CGI เพราะว่า ถ้าเป็น CGI แล้ว ตัวแปลชุดคำสั่งของ PHP ถือว่าเป็นแค่โปรแกรมภายนอก ซึ่ง Apache จะต้องเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้ง ที่ต้องการใช้ PHP ดังนั้น ถ้ามองในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ PHP แบบที่เป็นโมดูลหนึ่ง
ของ Apache จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า


รูปแบบการเขียน PHP
การเขียนโค้ด เราสามารถเขียนได้จากโปรแกรม Editor ทั่วไปเช่น Notepad หรือ Editplus แน่นอนที่สะดวกที่สุดคงจะไม่พ้น Notepad เพราะแถมมากับ window อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการความสามารถและ Options ที่เพิ่มขึ้นก็แนะนำว่าโปรแกรม Editplus ใช้ได้ดีทีเดียว

รูปแบบการเขียน PHP เขียนได้ 4 แบบดังตัวอย่าง ที่นิยมคือแบบที่ 1 และ 2 แบบที่ 3 ใช้งานคล้ายกับ Java script ส่วนแบบที่ 4 ตัว tag <% จะเหมือนกับ ASP โดยเมื่อรันจะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน และสามารถแทรกลงในส่วนของภาษา HTML ส่วนใดก็ได้

1.การเขียนโค้ดในรูปแบบภาษา SGML จะมีรูปแบบดังนี้

คำสั่งในภาษา PHP ;
?>

2. การเขียนโค้ดเพื่อใช้ร่วมกับภาษา XHTML หรือ XML (แต่สามารถใช้ใน HTML แบบปกติได้) จะมีรูปแบบดังนี้

คำสั่งในภาษา PHP ;
?>

3. การเขียนโค้ดในรูปแบบ JavaScript จะมีรูปแบบดังนี้



4. การเขียนโค้ดในรูปแบบ ASP จะมีรูปแบบดังนี้

<%
คำสั่งในภาษา PHP ;
%>

* สำหรับรูปแบบที่ 4 จะใช้ได้กับ PHP 3.0.4 ขึ้นไป และจะต้องไปแก้ไฟล์ php.ini ในโฟลเดอร์ C:\WINDOWS เสียก่อนโดยให้ asp_tags มีค่าเป็น On



การเขียนสคริปต์ PHP ในรูปแบบใดก็ตามจะต้องมีเครื่องหมาย semicolon ( ; ) ลงท้ายคำสั่งเสมอเหมือนกับการเขียนภาษา C กับภาษา Perl และคำสั่งหรือฟังก์ชั่นในภาษา PHP จะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ ( case-insensitive ) การจบ statement หรือสิ้นสุด script เราจะปิดท้ายสคริปต์ด้วยแท็ก ( ?> ) และคำสั่งสุดท้ายในสคริปต์นั้นจะลงท้ายด้วย semicolon ( ; ) หรือไม่ก็ได้เพราะจะถูกปิดด้วยแท็ก ( ?> ) อยู่แล้ว



นอกจากรูปแบบแล้ว การวาง code ผสมกับ HTML ก็เป็นวิธีหนึ่ง



Example


echo "Hi, I'm a PHP script!";
?>






RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา สำหรับเว็บไหนที่มี Rss ให้ใช้งานเราก็จะสังเกตุได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย หรือ

ตัวอย่างเอกสาร XML

TIS-620"?>



<span style="color:#ff0000;">ไตเติลของ RSS</span>
คำอธิบายเกี่ยวกับ RSS นี้
โดยมากมักเป็น URL ของเจ้าของ RSS
เวลา


<span style="color:#ff0000;">หัวข้อข่าว</span>
รายละเอียดของข่าว
URL ของลิงค์ เพื่ออ่านข่าวที่เว็บไซต์ต้นทางข่าว
เวลา



รายละเอียดเอกสาร XML

encoding เป็นส่วนที่สำคัญที่จะบอกว่าเอกสารนี้ใช้ภาษาอะไร ในที่นี้ผมเลือกเป็น TIS-620

TIS-620"?>

เอกสาร rss ในส่วนนี้คือการบอกว่า rss นี้เป็นเวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นใหม่สุดตอนนี้

2.0">

header จะประกอบด้วย ต้องมี Element อย่างน้อยดังนี้

<span style="color:#ff0000;">ไตเติลของ RSS</span>
คำอธิบายเกี่ยวกับ RSS นี้
โดยมากมักเป็น URL ของเจ้าของ RSS
เวลา

หัวข้อของข่าวต่างๆ ในแต่ละรายการจะถูกระบุไว้ภายใน ...ต้องมี Element อย่างน้อยดังนี้


<span style="color:#ff0000;">หัวข้อข่าว</span>
รายละเอียดของข่าว
URL ของลิงค์ เพื่ออ่านข่าวที่เว็บไซต์ต้นทางข่าว
เวลา

pubDate หรือเวลา ต้องระบุเวลาตามมาตรฐาน RFC 822

ตัวอย่าง Sat, 26 Jan 2008 11:14:13 +0700




โลกของความงาม





เร็มต้นกันกับต้นดือนพฤษภาคม
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ panyardee บล็อคของคนมีปัญญา