วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การจัดเก็บเอกสาร



เนื้อหา :
1. การบริหารงานเอกสาร
2. การเก็บเอกสารตามระบบตัวอักษร ชื่อบุคคล และธุรกิจ
3. การเก็บเอกสารตามระบบอักษรชื่อทางภูมิศาสตร์
4. การเก็บเอกสารตามระบบอักษรชื่อเรื่อง
5. การเก็บเอกสารตามตัวเลข
6. ระบบชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์
7. ระบบแฟ้มข้อมูล
8. โปรแกรมจัดเก็บเอกสาร (Electronic Filing Cabinet 2006)
9. การสร้างเอกสาร PDF ด้วยโปรแกรม Miceosoft Word
10. โปรแกรม Adobe Acrobat Professional
11. โปรแกรม Adobe Distiller
12. โปรแกรมจัดเก็บเอกสาร INFOMA




การบริหารงานเอกสารและการจัดเก็บเอกสาร
สำนักงานทั้งในภาคเอกชนและรัฐบาลมักจะมีเอกสารเข้า – ออกหลายประเภทเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความสำคัญมากน้อยแตกต่างกัน เอกสารบางชิ้นมีประโยชน์ในการนำข้อมูลไปใช้ในโอกาสต่อไป นอกจากนั้นยังใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิง ฉะนั้นถ้าสำนักงานแห่งใดต้องการดำเนินการด้านเอกสารอย่ามีประสิทธิภาพจำเป็นต้องใช้หลักการบริหาร และการจัดเก็บเอกสารที่ดีมีระบบเพื่อให้นำข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว

ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานเอกสาร
เอกสาร (Records) หมายถึง กระดาษที่ใช้ในธุรกิจ หนังสือ แบบฟอร์ม แผนที่ และวัตถุอื่น ๆ ที่บรรจุข้อความทั้งยังอาจรวมถึงสื่อกลางที่ใช้ในการจัดทำข้อมูลต่าง ๆ ของธุรกิจด้วย เช่น จดหมายโต้ตอบ บัตร เทป หรือไมโครฟิล์ม เป็นต้น
การจัดเก็บเอกสาร (Filling) หมายถึง กระบวนการจัดระบบจำแนกและเก็บเอกสารให้เป็นระเบียบสะดวกในกานำมาใช้เมื่อต้องการ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบริหารงานเอกสาร (Records management) เท่านั้น
การบริการงานเอกสาร (Records management) หมายถึง การดำเนินงานเอกสารให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามลำดับขั้นตอนคือ การวางแผน การกำหนดหน้าที่และโครงสร้างการจัดเก็บเอกสาร การกำหนดระบบการจัดเก็บเอกสารการเก็บรักษา การควบคุมงานเอกสารและการทำลายเอกสารจึงมีความสัมพันธ์กับเอกสารทุกขั้นตอนตามวงจรเอกสาร (Records cycle) โดยเริ่มจากการสร้างเอกสาร (Created) การจำแนกเอกสารและการนำไปใช้ (Classified and utilization) การจัดเก็บเอกสาร (Stored) การนำกลับมาอ้างอิงเมื่อจำเป็น (Retrieved when necessary) ตลอดจนการเก็บเอกสารกลับคืนหรือ ทำลายเอกสาร (Returned to storage or destroyed) จึงจำเป็นที่จะต้องหามาตรการที่เหมาะสมมาใช้กับขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอน วงจรเอกสาร ในสหรัฐอเมริกาได้วิจัยต้นทุนการผลิตและการเก็บเอกสารพบว่ามีมูลค่าประมาณ 10-40 % ของต้นทุนในงานสำนักงาน ถ้าสามารถบริการงานเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะทำให้ต้นทุนด้านนี้ลดลงได้

องค์ประกอบของการบริหารงานเอกสาร
การบริหารงานเอกสรในที่นี้ได้แบ่งงานหรือหน้าที่ในความรับผิดชอบของผู้บริการงานเอกสารได้ ดังต่อไปนี้
(1) การวางแผน
(2) การกำหนดหน้าที่และโครงสร้างของงานเอกสาร
(3) การออกแบบระบบการจัดเก็บเอกสาร
(4) การเก็บรักษา
(5) การควบคุมงานเอกสาร
(6) การทำลายเอกสาร โดยมีรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนดังนี้

1. การวางแผน เป็นการเตรียมงานและเตรียมการปฏิบัติงานเอกสาร เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ในการจัดเก็บเอกสาร เตรียมกำลังคนที่มีความรู้ในการจัดเก็บเอกสาร รวมทั้งกำหนดนโยบายปฏิบัติงานต่าง ๆ ดังนี้
1) นโยบายของแผน โดยกำหนดลงไปว่าจะบริหารงานเอกสาร โดยให้มีศูนย์กลางของเอกสารหรือจะแยกควบคุมตามหน่วยงานย่อย หรืออาจใช้ทั้ง 2 ระบบ
2) การฝึกอบรมพนักงาน เพื่อให้การควบคุมงานเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานคนใดที่ได้รับมอบอำนาจให้รับผิดชอบเกี่ยวกับงานเอกสารจะต้องมีความรู้ความชำนาญอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินการด้านเอกสาร ถ้าพนักงานไม่มีความรู้ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมก่อนเข้ามารับหน้าที่
3) มาตรฐานระบบงาน การบริหารงานเอกสาร จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานอันเดียวกันทั้งระบบ เพื่อให้การบริการและการควบคุมทำได้ง่ายและสะดวก
4) กำหนดสถานที่เก็บเอกสาร สถานที่เก็บเอกสารต้องจัดให้เป็นสัดส่วนแบ่งให้ชัดเจนลงไปว่า ส่วนใดเก็บเอกสารรอทำลาย ส่วนใดเก็บเอกสารสำคัญ ส่วนใดเป็นงานระหว่างปฏิบัติ โดยให้มีพื้นที่มี่เหมาะสมเพียงพอและให้ความปลอดภัยแก่เอกสาร
5) กำหนดอายุของเอกสาร โดยแจ้งให้พนักงานจัดเก็บเอกสารทราบว่า เอกสารประเภทใดจะต้องเก็บไว้เป็นเวลานานเท่าใดจึงจะทำลาย เอกสารใดจะต้องเก็บรักษาตลอดไปเอกสารสำคัญมีอะไรบ้าง
6) กำหนดวิธีโอนเอกสาร เพื่อให้มีที่เก็บเอกสารระหว่างปฏิบัติงานอย่างเพียงพอเมื่อเอกสารใดใช้ปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้ว ควรโอนไปยังที่เก็บเอกสารเฉพาะซึ่งจัดไว้โดยอาจโอนเป็นงวด ๆ หรือโอนต่อเนื่องเรื่อย ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของเอกสาร ลักษณะของงานจำนวนพนักงานที่ดูแล ตลอดจนนโยบายของผู้บริหารและวิธีการปฏิบัติงาน
7) การกำหนดเอกสารสำคัญ องค์การทุกแห่งย่อมจะมีเอกสารสำคัญเฉพาะของตนเองและเอกสารบางฉบับถือเป็นความลับสุดยอดของบริษัทไม่เปิดเผยให้บุคคลภายนอกรู้ ดังนั้นจึงต้องป้องกันความไม่ปลอดภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับเอกสาร นอกจากนั้นเอกสารอื่น ๆ ก็อาจจำเป็นต้องเก็บไว้ เพื่อให้อ้างอิงตลอดไปเช่นกัน
8) กำหนดวิธีการประเมินผลเพื่อหาข้อบกพร่องของแผนการบริการงานเอกสาร อาจทำได้ทั้งขณะวางแผน กำลังปฏิบัติการตามแผน และเมื่อสิ้นระยะเวลาของแผนแล้ว ซึ่งถ้าประเมินดูแล้วพบว่าไม่เป็นที่พอใจก็จะปรับปรุงให้ดีขึ้น

2. การกำหนดหน้าที่และโครงสร้างของงานเอกสาร เป็นการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ
ของผุ้ปฏิบัติงานเอกสารและกำหนดโครงสร้างของงานเอกสารว่าจะให้งานเอกสารเก้บไว้ที่ศูนย์กลางแห่งเดียวกัน (Centralization filing) เก็บไว้ที่หน่วยงานต่าง ๆ (Decentralization filing) หรือเก็บไว้ทั้งที่ศูนย์กลางและหน่วยงานต่าง ๆ โดยพิจารณาถึงข้อดีของแต่ละกรณีดังนี้
1) การเก็บไว้ที่ศูนย์กลาง มีข้อดีคือปริมาณงานและอุปกรณ์ในการทำงานน้อย บุคลากรมีความชำนาญเฉพาะด้านและทำงานมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและอุปกรณ์ ส่วนข้อเสียก็คือ หน่วยงานต่าง ๆ เมื่อต้องการใช้ข้อมูลจะขาดความคล่องตัวในการทำงาน
2) การเก็บไว้ที่หน่วยงานต่าง ๆ มีข้อดี คือ เหมาะกับข้อมูลที่มีลักษณะเป็นความลับ การเก็บและการนำออกมาใช้สะดวกและรวดเร็ว แต่มีข้อเสียก็คือ วัสดุ อุปกรณ์และพนักงานต้องกระจายตามหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้ไม่ประหยัดและวิธีปฏิบัติงานอาจแตกต่างกัน
3) การเก็บไว้ทั้งที่ศูนย์และหน่วยงานต่าง ๆ (Centralization and decentalization filing) การจัดเก็บวิธีนี้มีวัตถุประสงค์จะขจัดข้อเสียของทั้ง 2 วิธี การจัดแบบนี้อาจทำได้ดังนี้
(1) ให้หน่วยงานต่าง ๆ เก็บเอกสารของตน และเพื่อให้เกิดการประสานงานกัน และถือปฏิบัติเป็นระบบเดียวกันก็จะจัดให้มีศูนย์กลางการควบคุมทำหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงานเอกสารขององค์การ
(2) แบ่งเอกสารส่วนหนึ่งเก็บแบบผสม ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ศูนย์กลาง และอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงลักษณะของงานและประเภทของเอกสารที่จัดเก็บ

3. การออกแบบระบบจัดเก็บเอกสาร เป็นการกำหนดว่าจะจำแนกเอกสารตามระบบใดระบบ
หนึ่ง และกำหนดกระบวนการจัดเก็บเอกสารในแต่ละระบบนั้น ซึ่งรายละเอียดได้กล่าวไว้ในหัวข้อระบบการจัดเก็บเอกสารและกระบวนการจัดเก็บเอกสาร

4. การเก็บรักษา การเก็บรักษาหนังสือแบ่งออกเป็นการเก็บในระหว่างปฏิบัติ และเก็บเมื่อปฏิบัติ
เสร็จเรียบร้อยแล้ว วิธีเก็บรักษา มีดังนี้
1) การเก็บในระหว่างปฏิบัติ เป็นการเก็บหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่เสร็จก็ถือว่าอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติหรือของผู้ที่รับเรื่องไว้
2) เก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว ผู้เก็บต้องทำหลักฐานการเก็บหรืออาจโอนเอกสารไปแยกเก็บไว้ต่างหาก เพื่อประหยัดต้นทุนในการเก็บรักษา

5. การควบคุมงานเอกสาร เป็นการตรวจสอบการปฏิบัติงานเอกสารตั้งแต่เริ่มผลิตเอกสารไม่ว่า
จะเป็นการคิด ร่าง เขียน แต่ง พิมพ์ ทำสำเนา ก่อนจะผลิตเอกสารขึ้นมาแต่ละชิ้น ผู้ผลิตจะต้องมีการควบคุมอย่างรอบคอบและเมื่อผลิตแล้วก็ต้องควบคุมวิธีการใช้เอกสารตั้งแต่การเสนอ การรับ การอ้างอิง แล้วจึงนำไปเก็บรักษา เพราะมีปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้เอกสารมาก เนื่องจากมีการใช้เกินความจำเป็นหรือมีเอกสารมากจนไม่มีเวลาอ่าน อีกปัญหาหนึ่งก็คือ การขอยืมเอกสารอันจะนำมาซึ่งการคอย การทวงถามและการสูญหายเกิดขึ้น ทำให้ผู้เป็นเจ้าของเอกสารไม่ปรารถนาจะให้หน่วยงานอื่น ๆ ขอยืมเอกสารของตน และได้ใช้วิธีการการควบคุมการยืมเอกสารโดยใช้บัตรยืม กำหนดเวลายืมจดบันทึกการขอยืมและติดตามเอกสารที่ถูกยืมไป เพื่อป้องกันการลืม การสูญหาย เป็นต้น นอกจากหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นการควบคุมงานเอกสารยังมีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น เช่น การกำหนดศูนย์กลางการควบคุม การให้คำแนะนำ การัดระบบ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเอกสาร โดยอธิบายถึงนโยบายการบริหาร การจัดระบบและวิธีการัดเก็บเอกสารแก่พนักงาน เป็นต้น

6. การทำลายเอกสาร เอกสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วอาจทำลายเสียโดยใช้เครื่องมือเาหรือโดยวิธีอื่น ๆ ก่อนทำลายเสนอรายการชื่อหนังสือที่สมควรทำลายแก่ผู้บังคับบัญชาพิจารณาให้ทำลาย มีข้อพิจารณาดังนี้
1) เอกสารที่จะต้องเก็บรักษาไว้ มีเอกสารอะไรบ้างที่สำคัญและจะต้องเก็บไว้นานเท่าใด หากไม่มีหลักเกณฑ์ที่รัดกุมแล้ว อาจเป็นเหตุให้สูญเสียเอกสารที่สำคัญไป และอาจก่อให้เกิดความเสียหายตามมา
2) เอกสารที่ต้องทำลายควรมีวิธีจัดการอย่างไร ความลับจึงจะไม่รั่วไหลไปสู่บุคคลภายนอก
3) แนวทางการกำหนดอายุการเก็บรักษาเอกสาร

ดังนั้นปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะตัดสินใจอย่างไรว่าเอกสารใดควรเก็บ เอกสารใดควรทำลายทิ้ง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ความสำคัญของเอกสารนั้น ๆ จึงได้กำหนดคุณค่าของเอกสารลับเป็น 5 ประการ คือ
1) คุณค่าทางกฎหมาย ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่ต้องมีการเก็บรักษาเอกสาร เพราะเอกสารทุกชิ้นล้วนมีคุณค่าในการใช้เป็นหลักบานทางกฎหมายทั้งสิ้น ซึ่งจะนำไปแสดงต่อศาลได้เมื่อมีคดีความเกิดขึ้น
2) คุณค่าทางด้านการบริหาร เอกสารประเภทนี้มักได้แก่ ระบบคำสั่งคู่มือ การปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงาน เอกสารเหล่านี้ต้องมีการเก็บรักษาไว้เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อ ๆ ไป
3) คุณค่าทางวิจัย ได้แก่ ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการศึกษาค้นคว้าเก็บไว้ ซึ่งสามารถใช้เป็นการประกอบการวางแผนงาน หรือเป็นลู่ทางในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
4) คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวกับการก่อตั้งบริษัท รายชื่อผู้ถือหุ้น ฯลฯ ซึ่งถูกส่งไปเก็บไว้ที่ศูนย์เอกสารธุรกิจ กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินงานของบริษัท เอกสารเหล่านี้จะถูกเก็บไว้โดยไม่มีการทำลาย ไม่ว่าบริษัทนั้น ๆ จะยังอยู่หรือปิดกิจการไปแล้ว
5) คุณค่าทางการแจ้งข่าวสาร ได้แก่ เอกสารเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ข่าวเกตุการณ์ทั่วไป รวมทั้งคำปราศรัย สุนทรพจน์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี

อายุการเก็บเอกสาร จะพิจารณาว่าเอกสารใดกฎหมายกำหนดให้เก็บไว้นานเท่าใด และไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่หรือค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ รวมทั้งความจำเป็นในการใช้เอกสาร และอายุความของการฟ้องร้องทางกฎหมายเกี่ยวข้องกับเอกสารนั้น
แนวทางการกำหนดอายุการเก็บรักษาเอกสาร มีดังนี้
1) ตามพระราชบัญญัติการบัญชี ให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี นับแต่วันปิดบัญชี
2) ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารการลงบัญชีสำหรับปีนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี หรือวันที่ลงรายการครั้งสุดท้ายในบัญชีเงินสด ในกรณีที่ไม่มีการปิดบัญชีต้องมีหนังสือของกรมสรรพากร แสดงว่าได้ชำระภาษีครบถ้วนแล้ว สำหรับปีนั้น ๆ และมีการยื่นคำของอนุญาตต่อสำนักงานบัญชีกลางก่อนทำลาย
3) ตามกฎหมายแรงงาน ให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปเป็นประจำ จัดทำทะเบียนลูกจ้างและเอกสารเกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้างเป็นภาษาไทยและเก็บไว้ ณ สถานที่ทำงานพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ทะเบียนลูกจ้างนั้น อย่างน้อยต้องมีรายการต่อไปนี้ ชื่อ – สกุล เพศ สัญชาติ วันเดือนปีเกิด อายุ ที่อยู่ปัจจุบัน วันที่เริ่มจ้าง อัตราค่าจ้างและประโยชน์ตอบแทน วันสิ้นสุดของการจ้าง ให้นายจ้างเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างไว้ไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างลูกจ้างแต่ละราย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนลูกจ้างให้นายจ้างแก้ไขเพิ่มเติมทะเบียนลูกจ้างให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น สำหรับเอกสารเกี่ยวกับการคำนวณค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดนั้น อย่างน้อยต้องมีรายการต่อไปนี้ วันและเวลาทำงาน ผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้าง ค่าจ้าวตามผลงาน (เป็นหน่วย) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ลายมือลูกจ้างลงชื่อรับเงิน
4) เอกสารที่ต้องเก็บเอาไว้ตลอดไป ได้แก่ เอกสารก่อตั้งบริษัท ทะเบียน หุ้นส่วนทะเบียน และข้อปฏิบัติต่าง ๆ รวมทั้งรายงานการประชุม
5) เอกสารที่ต้องเก็บไว้ 10 ปี ได้แก่ เอกสารประกอบการลงบัญชี เอกสารการชำระภาษีอากร ใบเสร็จรับเงิน
6) เอกสารที่ต้องเก็บไว้ 5 ปี ได้แก่ สัญญาเงินกู้ที่ชำระเสร็จสิ้นแล้ว หลักฐานการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน
7) เอกสารที่ต้องเก็บไว้ 1 ปี ได้แก่ เอกสารทั่วไปที่ไม่มีความสำคัญ
8) เอกสารที่ต้องเก็บไว้ 2 ปี ได้แก่ หลักฐานการจ่ายค่าแรง บริการ ค่าเช่าต่างๆ และทะเบียนประวัติพนักงานที่ออกแล้ว

หลักการเก็บที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลักเกณฑ์ทั่วๆ ไป แต่สำหรับการประกอบธุรกิจในกิจการแต่ละ
แห่งอาจไม่เหมือนกัน ซึ่งผู้ดูแลรับผิดชอบควรจะได้มีการปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหาร เพื่อให้ทราบนโยบายการเก็บรักษาเอกสารด้วยจะสามารถลดความวุ่นวายตามมาในภายหลัง
มาตรการและขั้นตอนในการทำลายเอกสาร เอกสาร เมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาไว้ก็ควรจะทำลายไม่ปล่อยทิ้งไว้ แต่การทำลายต้องมีหลักเกณฑ์ ต้องควบคุมกันอย่างรัดกุม นับตั้งแต่เริ่มขนย้ายไปจนกระทั่งการทำลายเสร็จ มิฉะนั้นอาจเกิดความเสียหายตามมา คือ ความลับรั่วไหล เอกสารสำคัญถูกทำลายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และเอกสารอาจถูกทำลายโดยเจตนา
การที่ความลับจะรั่วไหลไปได้อาจมีผู้หยิบเอกสารบางอย่างไปตอนกำลังขนย้ายหรือเอกสารที่หลงเหลือจากการทำลายกลายไปเป็นหลักฐานสำคัญของคู่แข่งขันไป ข้อเสนอแนะในการทำลายเอกสารมีดังนี้
1) เอกสารสำคัญที่ถูกทำลายไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเกิดขึ้นได้ถ้าไม่เอาใจใส่ให้ดีพอ เช่น เวลาต้องการทำลายเอกสารจำนวนมาก ๆ อาจมองแค่ผ่าน ๆ ไป โดยไม่พิจารณาให้ละเอียด ดังนั้นจึงมีโอกาสที่เอกสารสำคัญ ๆ จะหลงหูหลงตาถูกทำลายไปด้วย
2) เอกสารถูกทำลายโดยเจตนาอาจมีใครที่แอบเอาหลักฐานสำคัญที่จะทำลายหลักฐานมาให้ผู้รับผิดชอบนำไปทำลายด้วย
3) เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น จึงได้กำหนดขั้นตอนการทำลายไว้ดังนี้
ขั้นแรก ต้องทำเรื่องของอนุมัติจากผู้บริหารว่าจะทำลายเอกสารนั้น ๆ แล้ว จะได้ไม่เป็นการทำลายเอกสารโดยพลการ นอกจากนี้เวลามีคดีอะไรเกิดขึ้นภายหลังก็สามารถอ้างได้ว่ารับคำสั่ง
มา
ขั้นที่สอง ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเอกสารที่จะทำลายโดยให้ผู้รับผิดชอบและเจ้าของอกสารมาร่วมพิจารณาพร้อม ๆ กัน ตัวแทนจากส่วนกลางและนักกฎหมายจะช่วยตัดปัญหาการทำลายเอกสารโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้
ขั้นที่สาม หลังจากที่แน่ใจว่าเอกสารใดทำลายได้ก็จะเป็นขั้นตอนทำลายเอกสาร ซึ่งจะต้องควบคุมการทำลายตั้งต้นจนจบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างอื่นตามา เช่น ไม่ปรากฏข้อความใด ๆ หลงเหลือให้ใครนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก ขั้นสุดท้าย เมื่อเอกสารถูกทำลายเรียบร้อยแล้วก็ควรทำรายงานเพื่อเสนอต่อผู้บริหารเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป

เครื่องทำลายเอกสาร (Shredder) วิธีการกำจัดเอกสารในสำนักงานที่ไม่ใช้แล้ว อาจทำโดยขยำทิ้งลงตะกร้าผงหรือเผาทิ้งไปก็ได้ แต่สำหรับวิธีแรกย่อมไม่ใช่วิธีที่ดี หากเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความลับของบริษัทเพราะความลับอาจรั่วไหลได้ ส่วนวิธีกำจัดด้วยการเผาทิ้งก็ยุ่งยาก เนื่องจากต้องจัดหาสถานที่เผาให้เหมาะสมซึ่งควันและกลิ่นจะไม่ไปรบกวนใคร ดังนั้นวิธีที่น่าจะสะดวกด้วยและปลอดภัยก็คือ ใช้เครื่องทำลายเอกสารนั้นเอง เครื่องทำลายเอกสารสามารถทำลายเอกสารทั่วไปได้ประมาณครั้งละ 11 แผ่น โดยใช้ความเร็วประมาณนาทีละ 11 เมตร จะเหลือเอกสารที่ถูกทำลายแล้วเพียง 2 มิลลิเมตร (ถ้าเป็นระบบธรรมดา) แต่ถ้าเป็นระบบครอสคัทจากเศษกระดาษจึงสามารถกลืนคลิปกระดาษหรือลวดเย็บ ซึ่งติดไปกับเอกสารได้โดยไม่ทำให้ใบมีดสึกหรอ ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องเป็นระบบไร้เสียงรบกวน มีระบบเดินหน้า – ถอยหลัง (แก้ปัญหากรณีที่กระดาษติด) และมีระบบสวิตซ์อัตโนมัติ ซึ่งเพียงเปิดเครื่องทิ้งไว้แล้วป้อนกระดาษ สวิตซ์ดังกล่าวจะควบคุมการเปิด – ปิด เครื่องเองโดยอัตโนมัติ (จะทำการตัดไฟให้ทันที่ที่หยุดป้อนกระดาษ) เศษเอกสารที่ถูกทำลายแล้วจะถูกบรรจุในถุงพลาสติดที่ติดอยู่กับตัวเครื่อง

ระบบการจัดเก็บเอกสาร
เอกสารมีความสำคัญต่อกิจการ ในระยะเริ่มแรกของการตั้งสำนักงานใหม่ ความสำคัญของการเก็บเอกสารยังมีไม่มากนัก แต่เมื่อหน่วยงานมีอายุมากขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น ปริมาณเอกสารจะเพิ่มขึ้นตามการจัดเก็บเอกสารและการบริหารเอกสารจึงมีความสำคัญต่อกิจการเพราะกิจการต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำผลของการวิเคราะห์มาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกิจการ




เรื่อง ระบบการเก็บเอกสาร
ระบบการเก็บเอกสาร แบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
1. การเก็บเอกสารตามลำดับตัวอักษร (Alphabetic Filling Method) เป็นการจัดเรียงแฟ้มเอกสารและนำเอกสารเข้าแฟ้ม เรียงตามตัวอักษรโดยใช้อักษรตัวหน้าเป็นหลักนำ แล้วถือเอาอักษร 2ตัวหลังเป็นหลักรองลงมา การเรียงลำดับตัวอักษรนี้ เป็นวิธีที่จัดและเข้าใจได้ง่ายกว่าวิธีอื่นๆ ดังเช่น สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ มีการจัดเรียงรายชื่อตามลำดับตัวอักษร ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานก็ได้ใช้การเรียงตามตัวอักษรเช่นเดียวกัน
วิธีการจัดเก็บเอกสารตามตัวอักษรนี้หมายถึงระบบการจัดเก็บเอกสารที่เรียงแฟ้มตามลำดับตัวอักษรไทยหรืออังกฤษของชื่อคนหรือชื่อหน่วยงาน แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงหลักพจนานุกรม และการแบ่งหน่วยดัชนี หมวดการจัดเก็บเอกสารวิธีรที่พยัญชนะต้นของหน่วยดัชนีหน่วยที่ 1 ใน
แฟ้มหนึ่งๆ จะมีเอกสารของคนๆ เดียวหรือหน่วยงานเดียว แต่มีหลายเรื่อง
ถ้าเลือกใช้วิธีการจัดเก็บเอกสารตามตัวอักษร ชื่อแฟ้ม บัตรนำ บัตรดัชนี บัตรอ้างอิง ก็จะต้องใช้ระบบเรียงตามตัวอักษรเหมือนกันหมด และหน้าตู้เก็บเอกสารของแต่ละลิ้นชักจะต้องมีช่องใส่บัตรแนะนำ ซึ่งจะต้องใช้ตัวอักษรอย่างเดียวกัน
หลักของพจนานุกรมที่สำคัญมีดังนี้
1. พยัญชนะลำดับตามตัวอักษร ไม่ได้ลำดับตามเสียง
2. สระลำดับตามรูปสระ ไม่ได้ลำดับตามเสียง อ ว ย นับเป็นพยัญชนะ
3. พยัญชนะกับสระผสมกัน ลำดับพยัญชนะก่อน
4. ตัววรรณยุกต์ ตัวทัณฑฆาต การันต์ ไม่ได้จัดเข้าในการพิจารณาลำดับ
2. การเก็บตามชื่อภูมิศาสตร์ ( Geographic Filing Method) เป็นระบบการจัดเก็บเอกสารที่เรียงแฟ้มตามชื่อหน่วยงาน ซึ่งพิจารณาว่าอยู่ในภูมิภาค เช่น เขต จังหวัด อำเภอ ตำบล ถนน ฯลฯ ซึ่งลักษณะการจัดเก็บเอกสารจะต้องใช้ร่วมกับวิธีการจัดเก็บแบบอื่นด้วย กล่าวคือ เมื่อจัดเก็บเอกสารตามชื่อตำบลที่ตั้งแล้ว ก็จะต้องเรียงตามตัวอักษรอีกด้วย ธุรกิจที่มีสาขาประจำอยู่ตาม
ภูมิภาคต่างๆ ใช้วิธีการจัดเก็บเอกสารตามลักษณะภูมิศาสตร์จะเหมาะสมที่สุด กรณีตัวอย่าง
บริษัทที่มีตัวแทนขายอยู่ในจังหวัดต่างๆ แต่ละจังหวัดก็มีตัวแทนขายหลายราย อาจจะเก็บเรื่องของตัวแทนขายหลายๆ รายนั้นภายใต้ดัชนีชื่อจังหวัดเดียวกัน แล้วจัดเอกสารของตัวแทนแต่ละรายนั้นไว้ในแฟ้มเดียวกัน
3 . การเก็บตามหัวข้อเรื่อง ( Subject Filling Method ) เป็นการจัดเก็บเรื่องแฟ้มเอกสารและ
จัดเอกสารเข้าแฟ้ม ที่ยึดชื่อเรื่องเป็นหลัก โดยจะรวบรวมเอกสารเป็นหมวดหมู่ตามชื่อเรื่องเป็นเรื่องๆ ไป และเรียงตามลำดับวันที่ เช่น เรื่องการก่อสร้าง ก็จะมีเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างเก็บเรียงอยู่ในแฟ้มเดียวกัน คือ แฟ้มก่อสร้าง และอาจแยกแหล่งเก็บออกไปอีก ถ้าเอกสารที่จัดเก็บมีปริมาณมากพอที่จะสามารถแยกชื่อเรื่องย่อยๆ ออกไปได้อีก โดยแยกแหล่งเก็บหลัก และแหล่งเก็บรอง ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วในตอนต้น แหล่งเก็บรองนี้จะเก็บเอกสารที่ใช้อ้างอิง เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
แหล่งเก็บหลัก
การก่อสร้าง
แหล่งเก็บรอง
เครื่องมือการก่อสร้าง
อุปกรณ์การก่อสร้าง
วัสดุก่อสร้าง
วิธีตั้งหมวดหมู่ มีข้อควรพิจารณาดังนี้
1. อย่าตั้งหมวดหมู่ที่มีความหมายกว้างหรือแคบเกินไป
2. อย่าตั้งหมวดหมู่ที่มีความหมายซ้อนกันหรือคล้ายคลึงกัน
3. ชื่อหมวดหมู่ควรจะสั้นและเป็นที่นิยม
4. ควรมีหมวดเบ็ดเตล็ดเป็นหมวดสุดท้าย
ในแฟ้มหนึ่งๆจะมีเอกสารประเภทเรื่องเดียวกัน แต่มีจากหลายคนหรือหลายหน่วยงาน
อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บเอกสารตามชื่อเรื่อง ก็จะต้องจัดเรียงลำดับตามตัวอักษรด้วยเหมือนกัน ชื่อเรื่องนี้อาจจะเป็นชื่อกิจการห้างร้าน ชื่อเรื่องราวที่ติดต่อธุรกิจกัน ฯลฯ สุดแท้แต่ความจำเป็นของธุรกิจ โดยพิจารณาตามเนื้อหาสาระของเอกสารเป็นสำคัญ
4.การเก็บตามตัวเลข ( Numeric Filing Method) เป็นระบบการจัดเก็บเอกสารที่เรียงแฟ้มตามตัวเลข หรือรหัสของหมดหมู่ แฟ้ม เนื่องจากเอกสารบางอย่างไม่เหมาะสมที่จะจัดเก็บตาม 2 วิธี
ข้างต้น การใช้รหัสตัวเลขกำกับนั้น พนักงานจัดเก็บเอกสารต้องคิดรหัสตัวเลขกำกับที่เป็นที่เข้าใจ
กันทุกฝ่าย ธุรกิจบางอย่างบางประเภท ควรใช้การเก็บเอกสารตามตัวเลข เนื่องจากต้องการรักษา
ความปลอดภัย และเสถียรภาพของธุรกิจ เช่น สำนักงานทนายความ บริษัทประกันภัย
บริษัทโฆษณา สำนักงานวิศวกร ฯลฯ การจัดเก็บเอกสารตามตัวเลข จะต้องมีการจัดเรียงตามลำดับก่อนหลังเช่นเดียวกัน

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สอบกราฟิค พค.24




เลือกรูปต่อไปนี้แล้วตกแต่งให้สวยงาม

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานพค.21



งานวิชาฮาร์ดแวร์และยูทิลิตี้ พค.21
ให้นักศึกษาสรุปส่ง วันจันทร์ ที่ 13 มิถุนายน 2554
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งานนักศึกษาเทียบโอน รุ่น 4 รายวิชาการสื่อสารข้อมูลในสำกงาน วันที่ 29 พฤษภาคม 2554



งานนักศึกษาเทียบโอน รุ่นที่ 4 รายวิชาการสื่อสารข้อมูลในสำกงาน วันที่ 29 พฤษภาคม 2554
คำสั่ง
1.ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละไม่เกิน 3 คน เลือกหัวข้อที่กำหนดให้โดยแตละกลุ่มจะตัองได้หัวข้อที่ไม่ซ้ำกัน
2.จัดทำรายงานและเตรียมนำเสนอในวันที่ 5 มิถุนายน 2554 โดยจะต้องมีทั้งรูปเล่มและไฟล์นำเสนอ
3.ให้นักศึกษาเตรียมสมุดมาด้วยคนละ 1 เล่ม

หัวข้อที่ให้นักศึกษาเลือก
1. ระบบงานสำนักงาน
2. ความรู้เบี้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
3. ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารข้อมูล
4. องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
5. ประเภทของสัญญาณ ทิศทางการสื่อสาร และประเภทการรับ-ส่งข้อมูล
6. ความหมายและความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
7. ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
8. โครงสร้างการเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
9. อุปกรณ์เครือข่าย (Network Devices)
10. OSI Model (Open Systems Interconnection Model)
11. โปรโตคอล (Protocol)
12. ลักษณะการใช้งานเครือข่าย
13. ชนิดของการเชื่อมต่อ
14. การติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
15. การใช้งานและการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
16. คุณค่าและข้อจำกัดของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

หากมีข้อสงสัยให้ติดต่ออาจารย์โดยตรงที่ หมายเลขโทรศัพย์ 082-3755266 หรือ panyar_16@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อสอบ



แบบทดสอบรายวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1. URL ย่อมาจากอะไร
ก. United Resource Leave
ข. Uniform Resource Locator
ค. Uniform Resource Location
ง. United Resource Location
2. อินเตอร์เน็ต คือ
ก. เครือข่ายที่เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ข. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก
ค. การส่งข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ง. การสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สะดวกแล้วรวดเร็ว
3. โปรโตคอลใด ที่ใช้สำหรับส่งอีเมลไปยังผู้รับ
ก. ftp://
ข. file://
ค. mailto:
ง. http://
4. ซอฟต์แวร์ใดที่สามารถให้ผู้ใช้ Download หรือ Upload file บนอินเตอร์เน็ตได้
ก. Interactive
ข. FTP
ค. GUI
ง. Telnet
5. Domain Name คืออะไร
ก. ชื่อเว็บไซต์
ข. ชื่อที่ใช้แทนไอพีแอดเดรส
ค. หมายเลข Password
ง. ข้อปฎบัติและกฎระเบียบ
6. http:// ย่อมาจากคำว่าอะไร
ก. HyperText Transfer Protocol
ข. HyperText Transfer Program
ค. History Text Protocol
ง. Hytext Tranmistion Protocol
7. สิ่งใดต่อไปนี้ที่สามารถส่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ 1. รูป 2. รส 3. กลิ่น 4. เสียง
ก. ข้อ 1. และ ข้อ 2
ข. ข้อ 2. และ ข้อ 3
ค. ข้อ 1. และ ข้อ 4
ง. ข้อ 3. และ ข้อ 4
8. นายแดง ต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จากอินเทอร์เน็ต นายแดงจะใช้บริการใด
ก. E-Lerning
ข. E-Book
ค. E-Sale
ง. E-Commerce
9. โปรแกรมที่ใช้สนทนาผ่านเครือข่าย คือโปรแกรมใด
ก. ICQ
ข. PERCH
ค. MSN
ง. ถูกทุกข้อ
10. ข้อใดคืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ก. เครื่องพิมพ์
ข. โมเด็ม
ค. แผ่นซีดีโปรแกรม
ง. แป้นพิมพ์
11. ข้อใดหมายถึง FTP
ก. File Translate Protocal
ข. File Transfer Protocal
ค. File Translate Providing
ง. File Transfer Providing
12. การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงข้อใด
ก. E-book
ข. E-commerce
ค. E-mail
E-learing
13. การทำงานของ E-mail มีลักษณะอย่างไร
ก. จดหมายนั้นจะทำการส่งไปยังคอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ตเป็นทอด ๆ
ข. ต้องมี E-mail Address เพื่อบอกว่าจดหมายนั้นจะส่งไปยังที่ใด
ค. จดหมายจะส่งไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ Email แต่ละคน
ง. ถูกทุกข้อ
14. หากต้องการลงทะเบียนขอ E-mail ฟรีกับ Hotmail ให้คลิกที่ใด
ก. Login
ข. Sign Up
ค. สมัครสมาชิก
ง. ส่งจดหมาย
15. koo_tappitak@hotmail.com ส่วนใดเปรียบเทียบกับที่อยู่ของผู้รับ
ก. koo_tappitak
ข. @
ค. hotmail.com
ง. ไม่มีข้อถูก
16. การ Download คืออะไร
ก. การนำไฟล์ต่าง ๆ ที่สร้างไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ต
ข. การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปปรับปรุงประสิทธิภาพในการประมวลผลให้เร็วขี้น
ค. การนำไฟล์ โปรแกรมต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ตมาไว้ในเตรื่องคอมพิวเตอร์
ง. การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
17. ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายนั้น หากต้องการเชื่อมต่อในระยะใกล้ ๆ เช่นภายในอาคารเดียวกันควรเชื่อมต่อแบบใด
ก. Lan (Local Area Network)
ข. Can (City Area Network)
ค. Wan (Wide Area Network)
ง. ไม่มีข้อถูก
18. Website คืออะไร
ก. เอกสารหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์
ข. เอกสารแต่ละหน้า
ค. ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
ง. ชื่อสถานที่บนอินเทอร์เน็ต
19. โมเด็มที่กำลังเชื่อมต่ออยู่กับระบบอินเทอร์เน็ตเรียกว่าอย่างไร
ก. On line
ข. Off line
ค. On Air
ง. Off Air
20. ข้อใดอธิบายความหมายของ เวิล์ด ไวด์ เว็บ ได้ถูกต้องที่สุด
ก. การบริการข้อมูลผ่านอีเมล์
ข. การบริการข้อมูลด้วยข้อความ ภาพ เสียง ผ่านคอมพิวเตอร์
ค. การบริการข้อมูลผ่านกระดานข่าว
ง. การบริการข้อมูลที่เชื่อมต่อด้วยไฮเปอร์ลิงก์
21. เว็บเบราเซอร์ที่ได้รับความนิยมมาก ในปัจจุบันคืออะไร
ก. Netscape
ข. IE (Internet Explorer)
ค. pantip.com
ง. ถูก ข้อ ก และข้อ ข
22. ปุ่ม Back ในอินเทอร์เน็ต เอ็กพลอเรอร์ หมายถึงอะไร
ก. การเลื่อนเว็บเพจ
ข. การย้อนกลับไปยังเว็บเพจก่อนหน้า
ค. การค้นหาเว็บเพจ
ง. การไปยังเว็บเพจหน้าถัดไปที่เคยดูมาแล้ว
23. ถ้าต้องการเก็บเว็บไซต์ที่น่าสนใจไว้ใช้งานครั้งต่อไปอย่างรวดเร็ว จะปฏิบัติอย่างไร
ก. เก็บเว็บไซต์ไว้ใน History
ข. เก็บเว็บไซต์ไว้ใน Search
ค. เก็บเว็บไซต์ไว้ใน Favorites
ง. เก็บเว็บไซต์ไว้ใน Refresh
24. ถ้าต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ จะใช้รูปแบบคำสั่งอย่างไร
ก. www.mai.go.th
ข. www.moe.go.th
ค. www.mua.go.th
ง. www.cat.co.th
25. การปรับภาษาให้เป็นภาษาไทย ใช้คำสั่งใด
ก. Encoding
ข. go to
ค. Favorites
ง. Refresh
26. โครงการอาพาร์เน็ตถือกำเนิดมาจากสาเหตุใด ?
ก. สงครามระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย
ข. สงครามนิวเคลียร์
ค. การค้นคว้าด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ง. การตัดต่อทางพันธุกรรม ( GMO)
27. ความหมายของอินเตอร์เน็ต คือข้อใด ?
ก. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำไปใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
ข. ระบบการสื่อสารที่ไม่จำกัดเวลา
ค. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน โดยผ่านระบบสื่อสารคมนาคม
ง. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
28. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เชื่อมต่อ ที่มหาวิทยาลัยใดเป็นแห่งแรก ?
ก. มหาวิทยาลัยมหิดล
ข. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ค. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ง. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
29. ข้อตกลงที่กำหนดวิธีการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต เรียกว่า อะไร ?
ก. transmission
ข. Modem
ค. Protocol
ง. Host
30. ISP หมายถึงข้อใด ?
ก. ผู้ให้บริการทางด้านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
ข. ผู้ให้บริการเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล
ค. ผู้ให้บริการอีเมล์
ง. ผู้ให้บริการเนื้อที่สร้างโฮมเพจบนอินเตอร์เน็ต
31. เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณระหว่างคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์ ?
ก. เมาส์
ข. โมเด็ม
ค. ปรินเตอร์
ง. คีย์บอร์ด
32. โดเมนระดับสอง ที่แสดงว่าเป็นกลุ่มองค์กรทางการค้า คือข้อใด ?
ก. edu
ข. net
ค. com
ง. gov
33. บริการซื้อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต ?
ก. E-mail
ข. E-Learning
ค. E-Commerce ์
ง. E-Library
34. URL หมายถึงข้อใด ?
ก. ที่อยู่ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
ข. ที่อยู่อีเมล์
ค. หน้าแรกของเว็บไซต์
ง. ตำแหน่งที่อยู่ของเว็บไซต์
35. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบบุคคล ?
ก. โมเด็ม
ข. คู่สายโทรศัพท์
ค. บัญชีผู้ใช้งาน
ง. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
36. Browser ในข้อใดเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ?
ก. Fire fox
ข. Internet Explorer
ค. Mozila
ง. Netscape Navigator
37. ปัจจุบันมาตรฐานในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่าอะไร
ก. HTTP
ข. UUNET
ค. TCP/IP
ง. UNIX
38. อินเตอร์เน็ต (Internet) ย่อมาจากคำว่า
ก. Cyberspace
ข. Internet network
ค. Inter Connection Network
ง. Internet Connection Network
39. ข้อใดถือว่าเป็นความสำคัญที่สุดในการใช้อินเตอร์เน็ต
ก. เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ข. เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
ค. เพื่อใช้ในการทำธุรกิจบนเครือข่าย
ง. เพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต
40. ข้อใดเป็นโทษของอินเตอร์เน็ตที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุด
ก. มีการใส่ข้อมูลที่เป็นเท็จ
ข. การแผ่ไวรัสคอมพิวเตอร์
ค. เด็กที่ใช้อินเตอร์เน็ตอาจได้รับข้อมูลไม่เหมาะสม
ง. ขณะใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถใช้สายโทรศัพท์ได้
41. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
ก. เป็นระบบอิสระ
ข. เรียนผ่านเครือข่าย
ค. เล่นเกมออนไลน์
ง. ไม่มีข้อจำกัดทางศาสนา
42. อินเตอร์เน็ตเกิดจากหน่วยงานใดของสหรัฐ
ก. รัฐบาล
ข. กระทรวงกลาโหม
ค. อาปา (ARPA)
ง. BBN
43. ในประเทศไทยมีการใช้บริการใดในอินเตอร์เน็ตเป็นบริการแรก
ก. บริการ World Wide Web
ข. สนทนาผ่านเครือข่าย
ค. บริการโอนย้ายข้อมูล
ง. รับ - ส่ง E-mail
44. บริการใดเป็นการโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
ก. Chat
ข. FTP
ค. Usenet
ง. Push Technology
45. Protocol หมายถึงข้อใด
ก. หมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย
ข. เว็บไซต์ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลหลาย ๆ ประเภท
ค. ภาษาสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต
ง. ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
46. 164.115.31.64 หมายถึงสิ่งใด
ก. E- mail Address
ข. IP Address
ค. DNS
ง. Internet Account
47. โปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
ก. Web Editor
ข. Search Engine
ค. Web Server
ง. Web Browser
48. ถ้าใช้ Hotmail กล่องคำสั่งในข้อใดที่ใช้เขียนข้อมูลเพื่อส่ง คืออะไร
ก. Inbox
ข. Compose
ค. Address Book
ง. Home
49. ปุ่มเครื่องมือ Favorites กับ Book mark ใช้ทำหน้าที่อะไร
ก. สำเนาข้อมูลไว้ในฮาร์ดดิสก์
ข. ทำสำเนาไปที่เครื่องพิมพ์
ค. เก็บที่อยู่เวปไซต์ไว้เรียกใช้ภายหลัง
ง. ค้นหาข้อมูล
50. ในโปรแกรมการรับ - ส่ง E-mail ช่อง To มีไว้สำหรับทำอะไร
ก. ใส่หัวเรื่องของจดหมาย
ข.ใส่ E- Mail Address ของผู้รับ
ค. ใส่ชื่อแฟ้มที่ต้องการส่งไปพร้อมกับ E - Mail
ง. ใส่ E - Mail Address ของผู้รับสำเนา
51. ใน Internet Explorer ถ้าต้องการพิมพ์เวปเพจออกทางเครื่องพิมพ์ ต้องเลือกจากเมนูคำสั่งในข้อใด
ก. Sent to >Print
ข. View >Print
ค. Edit >Print
ง. File >Print
52. ถ้าต้องการทำสำเนาเว็ปเพจไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้ ภายหลังต้องเลือกใช้คำสั่งใด
ก. File > Save As
ข. File > Print
ค. File > Open
ง. File > New
53. ในโปรแกรมการรับ - ส่ง E - Mail ของ Subject มีไว้สำหรับทำอะไร
ก. ใส่ที่อยู่ E - Mail Address ของผู้รับ
ข. ใส่หัวเรื่องของจดหมาย
ค. ใส่ชื่อแฟ้มที่ต้องการส่งไปพร้อมกับ E - Mail
ง. ใส่ที่อยู่ E - Mail Address ของผู้รับได้มากกว่า 1 ชื่อ
54. ชื่อของ Web site ที่ลงท้ายด้วย .ac.th ตรงกับข้อใด
ก. เป็น Web ที่เกี่ยวกับการศึกษาในประเทศไทย
ข.เป็น Web ที่เกี่ยวกับผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย
ค. เป็น Web ที่เกี่ยวองค์กรของรัฐในประเทศไทย
ง. เป็น Web ที่เป็นหน่วยงานเอกชน
55. ในโปรแกรม Internet Explorer ปุ่มเครื่องมือ Refresh ทำหน้าที่อะไร
ก. ดาวน์โหลดข้อมูลในหน้านั้นใหม่อีกครั้ง
ข.หยุดการดาวน์โหลดข้อมูล
ค. ไปยังเวปหน้าถัดไป
ง. กลับไปยังเว็บเพจหน้าที่ผ่านมา
56. ช่อง CC มีไว้สำหรับทำอะไร
ก. ใช้ใส่ชื่อแฟ้มที่ต้องการส่งไปพร้อมกับ E- mail
ข. ใช้เมื่อต้องการส่ง E - mail ถึงผู้รับมากกว่า 1 คน (แบบสำเนา)
ค. ใช้ใส่หัวเรื่องของจดหมาย
ง. ใช้เมื่อต้องการส่ง E - mail Address ของผู้รับ
57. ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้อะไรเป็นตัวกำหนดอ้างอิงถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
ก. Host Number
ข.Network Number
ค. IP Address
ง. TCP/IP
58. Modem เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ตรงกับข้อใด
ก. เปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบอนาล็อกเป็นดิจิตอลตอนส่งข้อมูล
ข.เปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบอนาล็อกเป็นดิจิตอลตอนรับและส่งข้อมูล
ค. เปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลเป็นอนาล็อกลตอนส่งข้อมูล
ง. เปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลเป็นอนาล็อกลตอนรับข้อมูล
59. การกระทำใดที่นักเรียนคิดว่าถูกต้อง
ก. แคท copy งานเพื่อนเสมอ
ข. แคทเล่นเกมทั้งวัน
ค. แคทแอบเปิด e-mailของเพื่อน
ง. แคทสืบค้นข้อมูลใน Internet เพื่อทำรายงาน
60. ข้อใดคือคำตอบที่ถูกต้อง
ก. Internet คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่2เครื่องขึ้นไป
ข.Internet คือสิ่งมหัศจรรย์ทั่วโลก
ค. Internet คือระบบ Lanที่ใหญ่คอบคุมไปทั่วพื้นที่
ง. Internet คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่คอบคลุมทั่วโลก
61. ข้อใดคือ web site
ก. aplde@hotmail
ข. sanook@hotmail.com
ค. www.thewpaingarm.ac.th
ง. www.go.th
62. IT คือข้อใด
ก. Internet
ข.Computer
ค. International
ง. Information Technology
63. NECTEC คือข้อใด
ก. ศูนย์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ข. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ค. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
ง. ศูนย์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ
64. ข้อใดคือ e-mail
ก. haha@truemai
ข. narruk@hotmail.co.th
ค. www.kootap.com
ง. www.yahoo.com.th
65. อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด
ก. กระทรวงยุติธรรม ประเทศอังกฤษ
ข. หน่วยสืบราชการลับ ประเทศรัสเซีย
ค. สถานฑูต ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ง. กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา
66. ถ้าต้องการบันทึกภาพจากอินเตอร์เน็ตไว้ในคอมพิวเตอร์ต้องใช้คำสั่งใด
ก. Save picture as
ข.Save as
ค. Save All
ง. Save picture all
67. ถ้าต้องการข้อความทั้งหมดให้คำสั่งใด
ก. Ctrl A
ข. Ctrl B
ค. Ctrl C
ง. Ctrl D
68. Ctrl v เป็นคำสั่งที่ใช้ทำอะไร
ก. บันทึกข้อมูล
ข. ลบข้อมูล
ค. วางข้อมูล
ง. เพิ่มข้อมูล
69. ปี พ.ศ. ใด ที่อินเตอร์เน็ตเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว
ก. พ.ศ. 2521
ข. พ.ศ. 2530
ค. พ.ศ. 2532
ง.พ.ศ. 2535
70. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
ก. ด้านความบันเทิง
ข. ด้านเศษฐกิจ
ค. ด้านธุรกิจการค้า
ง.ด้านการรับส่งข่าวสาร
71. ประเภทของเครือข่างแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท
72. IP ADDRESS มีขนาดกี่บิต
ก. 8 บิต
ข. 16 บิต
ค. 32 บิต
ง. 64 บิต
73. IP ADDRESS : 198.137.240.0 อยู่ในคลาสใด
ก. คลาส A
ข. คลาสB
ค. คลาสC
ง.คลาสD และ E
74. WWW หมายถึง
ก. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ข. โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
ค. ข้อมูลของศูนย์บริการ
ง.แหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์
75. .gov จัดอยู่ในประเภทองค์กรใด
ก. หน่วยงานรายการ
ข. องค์กรนานาชาติ
ค. องค์กรไม่ต้องการกำไร
ง.หน่วยงานการศึกษา
76. การแนบไฟล์ข้อมูลใช้คำสั่งใด
ก. Gateway
ข. Mailing List
ค. Message Text
ง. Attach
77. Internet Service Provide: (ISP) คือข้อใด
ก. SISAT
ข. TCP/IP
ค. FTP
ง. TOT
78. กลยุทธ์ข้อที่ 3 คือ
ก. พัฒนาผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพ
ข. พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
ค. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ง.พัฒนานวัตกรรมและการวิจัย
79. รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ คือ
ก. ว่าที่ ร.อ.สนั่น แก้วบุญเรือง
ข. นายอุดม วัชรพงศ์วนณิช
ค. นายหยาด พลตรี
ง. นายวิวัฒน์ บุญพิคำ
80. ครูผู้สอนชื่ออะไร
ก. นายปัญญา ผเดิม
ข. นายปัญญา มะเดิม
ค. นายปัญญา ผะเดิม
ง. นายปัญญา เผดิม

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

ข้อสอบ 25 มีนาคม 2554



จากบทความที่ให้ในเว็บ ให้นักศึกษาออกแบบและพัฒนาโปรแกรมตามขั้นตอนพัฒนาระบบ ตามกรณีศึกษาดังต่อไปนี้
1. โปรแกรมตรวจสอบบุคคล (แสกนลายมือ) 20 คะแนน
2. โปรแกรมคำนวณเงินเดือน (รายได้) 20 คะแนน
* ศึกษาจากบทความที่ให้แล้วเขียนตามขั้นตอนว่าทำอะไรบ้าง

ขณะนี้เวลา 10.00 น. เวลาสอบ 1 วัน
*ศึกษาเพิ่มเติ่มจาก http://www.bcoms.net/system_analysis/lesson3.asp

กรุณาลงชื่อเข้าสอบด้วยนะครับ โดยไปคลิกที่คำว่า ติดตาม แล้วกรอก E-mail ก็ได้แล้วครับ

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

กำนดการสอบ




กำหนดการสอบ กลุ่ม ทบค21
-25 มีนาคม เวลา 00.01น. -อัพโหลดข้อสอบ
-25 มีนาคม เวลา 00.01น.- 23.59 น. -ทำข้อสอบ
- หากส่างไม่นันก้อจะหักคะแนนวันละ 5 คะแน
- 24 ซ.ม. คิดเป็น 1 วัน
- ส่งเข้าเมล์ panyar_16@hotmail.com (ดูเวลาตามที่ได้รับจดหมาย)
-เหมือนกันหารสอง
- เนื้อหาส่วนที่เหลือจะขึ้นให้อีกประมาณ 2 บทความ
*************ไม่สอบไม่มีคะแนน ไม่มีเกรด*****************
มีปัญหาถามต้อม

หลักการพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 1
(เป็นข้อมูลในสมัยเรียน ไม่ทราบที่มาต้องขออภัยด้วยครับ เผื่อมีประโยชน์กับนักศึกษานะครับ)

ทำความรู้จักกับภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

1) ชนิดของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม

ภาษาโปรแกรม เป็นภาษาซึ่งใช้แทนการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ การสื่อสารของมนุษย์จะใช้คำพูด หรือ การเขียนข้อความ ติดต่อกัน ซึ่งมนุษย์แต่ละชาติจะมีภาษาของตนเองที่แตกต่างกัน ซึ่งภาษาที่ใช้แทนของคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน มีมากมายหลายภาษา ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่ควรทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ของภาษาโปรแกรมที่เป็นที่ยอมรับ และนิยมใช้กันซึ่งในบางกรณีอาจมีความจำเป็นที่ต้องนำภาษาโปรแกรมเหล่านั้นมาพัฒนาโปรแกรมของตนเอง ภาษาโปรแกรมแต่ละภาษานั้น มีการเขียนคำสั่ง กฎเกณฑ์ต่างๆ รูปแบบ ที่แตกต่างกัน


ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ชนิดหลักๆ คือ

1.ภาษาเครื่อง (Machine Language)
2.ภาษาแอสแซมบลี (Assembler Language)
3.ภาษาระดับสูง (High-Level Language)
4.ภาษาในยุคที่ 4 (Fourth-generation Language)
ซึ่งภาษาโปรแกรมทั้ง 4 ชนิดนี้มีความสัมพันธ์กันเป็นระดับชั้น ซึ่งภาษาโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ต้องผ่านการแปลในแต่ละลำดับชั้น ซึ่งผลของการแปลจะได้ microinstructions หรือ machine language instruction codes ที่สามารถทำงาน (execute) โดยวงจรตรรก ของซีพียู

1. ภาษาเครื่อง (Machine Languages)

ภาษาเครื่อง ถือว่าเป็นภาษาโปรแกรม ซึ่งใช้ในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ ในระยะแรกเริ่ม คำสั่งที่ใช้เขียนประกอบด้วยเลขฐานสองเท่านั้น โปรแกรมเมอร์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เพราะต้องระบุถึงตำแหน่งการเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ การใช้รีจีสเตอร์ ตัวนับ (counter) ตัวชี้ (pointer) ตัวสวิทซ์ (Switch) เพื่อใช้ในการโปรแกรม ซึ่งการเขียนโปรแกรมในลักษณะนี้ยากมากเนื่องจากการทำงานทุกอย่าง ต้องใช้คำสั่งเป็นตัวเลขทั้งสิ้น และใช้เวลานานมากในการเขียน รวมทั้งเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายด้วย การแก้ไขก็ยากด้วย เช่นเดียวกัน เช่น 10101010

2. ภาษาแอสแซมบลี (Assembler Languages)

เป็นภาษา ที่อยู่ในลำดับขั้นที่สูงกว่าภาษาเครื่อง ซึ่งพัฒนาให้เขียนง่ายกว่าภาษาเครื่อง อาจเรียกว่า ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) ก็ได้ เพราะใช้สัญลักษณ์ แทน คำสั่งปฏิบัติงานและตำแหน่งที่เก็บข้อมูล เช่น ใช้ ST แทน 1100 ซึ่ง 1100 เป็นคำสั่งให้เก็บค่าของข้อมูลโดยแทนให้เป็น ST ในภาษาแอสแซมบลี ซึ่งภาษาแอสแซมบลีจะแทนคำสั่งปฏิบัติงานต่างๆ ด้วยตัวอักษร ซึ่งเรียกว่า mnemonics (memory aids) ดังนั้น โปรแกรมเมอร์ที่เขียนคำสั่งด้วยภาษาแอสแซมบลี ไม่สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง ต้องมีล่ามในการแปลตัวอักษรต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นภาษาเครื่องอีกที ตัวล่ามที่ว่านี้ เป็นโปรแกรมแปลภาษา ซึ่งเรียกว่า แอสแซมเบอร์ (assemblers)

3. ภาษาระดับสูง (High Lavel Language)

ภาษาระดับสูง หรือเรียกอีกอย่างว่า compiler languages คำสั่งของภาษาะระดับสูง เรียกว่า statements ซึ่งลักษณะการแทนคำสั่งต่างๆจะใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษที่เข้าใจได้ง่าย การคำนวณจะมีรูปแบบการแทนค่าเป็นมาตรฐาน ที่เห็นใช้กันโดยทั่วไป ซึ่งคำสั่งของภาษาระดับสูง คือคำสั่งมาโคร ซึ่งเมื่อทำการแปล โดย compilers หรือ interpreters แล้วจะเกิดเป็นคำสั่งเครื่องหลายคำสั่ง ภาษาระดับสูงส่วนมากได้มีการออกแบบให้เป็น machine indendent คือสามารถประมวลผลกับคอมพิวเตอร์ซึ่งผลิตจากผู้ผลิตที่แตกต่างกันได้ โดยขึ้นอยู่กับ compiler เป็นต้น

4. ภาษาในยุคที่ 4 (Fourth Generation Languages)

สามารถเรียกได้หลายชื่อ เช่น very high level language (VHLL) , non procedural language , avtoral language application oriented language , user oriented language การสร้างโปรแกรมและงานประยุกต์ของภาษาในยุคที่ 4 จะเกี่ยวข้องกับ การสอบถาม (query) การสร้างรายงาน (report generator) และการจัดการข้อมูล (data manipulation) โดยผู้ใช้และโปรแกรมเมอร์สามารถประมวลผลฐานข้อมูลและระบบโดยใช่คำสั่งที่เหมือนภาษาอังกฤษที่ใช้พูดหรือเขียน ซึ่งเป็นภาษาธรรมชาตินั้นเอง

4.1 ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)

ภาษาธรรมชาติ เป็นชนิดหนึ่งของภาษาในยุคที่ 4 ซึ่งใกล้เคียงกับภาษามนุษย์เป็นอย่างมากซึ่งง่ายต่อการใช้ โดยทั่วไปเป็นคำสั่งเหมือนการสนทนาในภาษาอังกฤษ ซึ่แน่นอนโปรแกรมที่ใช้ในการแปลภาษาธรรมชาตินี้ ต้องซับซ้อนมากตามไปด้วย ซึ่งเรียกกว่า intelligent compiler นอกจากนี้ภาษาในยุตที่ 4 ถูกเรียกว่า nonprocedural language เพราะว่าเป็นภาษาที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนรายละเอียดของวิธีการทำงานมากมาย เพียงบอกให้คอมพิวเตอร์ทำในสิ่งที่ต้องการ คอมพิวเตอร์จะดำเนินการในรายละเอียดและผลิตเป็นผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งภาษาในยุคนี้ส่วนมากจะใช้ในการเขียนโปรแกรมแบบโต้ตอบ (interactive) และการสนทนา (conversational) โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเทอร์มินัลที่ต่อเชื่อมกัน

ภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้ (Popular Programming Language)

มีภาษาโปรแกรมมากมายถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหาในการทำงาน ซึ่งภาษาโปรแกรมบางภาษาเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย บางภาษาไม่เป็นที่นิยม ก็ค่อยๆพัฒนาเป็นภาษาโปรแกรมใหม่ๆ ที่ดีขึ้นกว่าเดิมสลับเปลี่ยนแปลงไป

1) ภาษาเบสิค (BASIC)

คำว่า BASIC ย่อมาจาก Beginner’s All purpose Symbolic Instruction Code เป็นภาษาที่เคยได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ เหมาะสมสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก สามารถแก้ปัญหากับงานที่มีขนาดเล็ก ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1960 ที่ Dartmouth College เพื่อฝึกให้นักศึกษาสามารถสนทนาโดยโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยใช้ระบบแบ่งเวลา (time sharing) ต่อจากนั้นได้พัฒนาต่อมาอีกหลายรุ่น เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งการประมวลผลแบบกลุ่ม (batch) และการประมวลผลแบบทันทีทันใด (realtime) ซึ่งความสามารถต่างๆที่ได้ขยายเพิ่มขึ้น ทำให้ภาษา BASIC ไม่มีมาตรฐาน ดังนั้นในปี ค.ศ. 1978 จึงได้ระบุถึงความสามารถที่เป็นมาตรฐานของภาษา ซึ่งถ้ามีความสามารถสูงกว่า จะเรียกว่า Extend BASIC

ภาษา BASIC ถือว่าเป็นภาษาที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มาก เนื่องจากใช้ได้ง่าย ตัวแปลภาษา BASIC เรียกว่า interpreters ซึ่งจะทำการแปลแต่ละคำสั่งโดยทันทีทันใด ซึ่งทำให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบถึงข้อผิดพลาดในทันที ซึ่งง่ายต่อการแก้ไข

2) ภาษาโคบอล (COBOL)

คำว่า COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สำหรับประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ภาษานี้คล้ายภาษาอังกฤษ มีการออกแบบให้สามารถประมวลผลได้หลายแฟ้มข้อมูล ถูกพัฒนาและบำรุงรักษาโดย CODASYL (Conference On Data System Language) ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนของผู้ใช้เครื่องขนาดใหญ่ ตัวแทนของรัฐบาล และผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยพัฒนา ANSI (American National Standard Institute) เป็นมาตรฐานของภาษาโคบอล

เนื่องจากภาษาโคบอลใช้คล้ายภาษาอังกฤษ ผู้ที่ไม่เป็นโปรแกรมเมอร์ ก็สามารถเข้าใจถึงการทำงานของโปรแกรมได้ง่าย ดังนั้น โปรแกรมภาษาโคบอลจึงเหมือนกับเป็น เอกสารในตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้าคิดอีกทีถ้าเปรียบเทียบกับภาษา BASIC จะคล่องตัวมากกว่า เพราะการอธิบายที่ยืดยาว ก็ทำให้โปรแกรมเยิ่นเย้อ นอกจากนี้ ภาษาโคบอลไม่เหมาะสำหรับแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์ และการประมวลผลแบบทันทีทันใด (interactive processing)

3) ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)

คำว่า FORTRAN ย่อมาจาก FORmula TRANslation) ซึ่งได้พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1957 เป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่มากที่เดียว โดยออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิศวกรรม ซึ่งเป็นนิพจน์ทางพีชคณิต ไม่เหมาะสมกับงานประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลบนแฟ้มข้อมูล ภาษานี้ได้พัฒนาต่อมาหลายรุ่น เช่น FORTRAN IV และ FORTRAN77 ซึ่งได้นำมาประยุกต์ใช้กับงานทางธุรกิจบ้างที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การจัดการทางธุรกิจ โดยสร้างเป็นแบบจำลองทางธุรกิจ จากการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์

หลายๆรุ่นของภาษานี้ ได้พัฒนาจุดเด่นเพิ่มขึ้น เช่น WATFOR , WATFIV , XTRAN และ FASTRAN สามารถนำไปสอนที่โรงเรียน เป็นโปรแกรมในลักษณะของการโต้ตอบ (interactive) คล้ายๆกับภาษาเบสิค ทำให้ภาษานี้มีมาตรฐาน 2 รูปแบบ คือ FORTRAN และ BASIC FORTRAN ถูกกำหนดโดย American National Standards Institute in cooperation และผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ โดย Basic FORTRAN จะเป็นรุ่นที่เป็นมาตรฐานโดยทั่วๆไป ที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ส่วน FORTRAN จะเพิ่มจุดเด่นโดยบรรจุคำสั่งต่างๆที่ใช้งานที่มากขึ้น

4) ภาษา PL/1

PL/1 ย่อมาจาก Programming Language 1 ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย IBM ในปี ค.ศ. 1965 เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ทั่วๆไป ทั้งทางด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ โดยรวมเอกจุดเด่นของภาษาฟอร์แทรนและภาษาโคบอล รวมเข้าด้วยกัน และผนวกกับความสามารถบางอย่างของภาษาแอสแซมบลี และ ALGOL ผสมเข้าไปอีกด้วย ก็น่าที่จะทำให้ภาษานี้ไดรับความนิยม แต่กลับเป็นว่า ภาษานี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้โดยกว้างขวางเท่าภาษา FORTRAN และภาษาโคบอล อาจเป็นเพราะผู้ผลิตซอฟต์แวร์พัฒนาตัวแปลภาษา PL/1 ช้ามากแต่ในเวลาต่อมาก็เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้มากขึ้น

ภาษา PL/1 นี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นภาษาที่ยากต่อการเรียนรู้และขาดประสิทธิภาพในการนำมาเขียนโปรแกรม แต่ข้อดีคือเป็นภาษาที่ใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยมีความยืดหยุ่นสูง การออกแบบเป็นโมดูล (modular) ซึ่งมีลักษณะเป็นโปรแกรมโครงสร้าง มากกว่าภาษาอื่นๆ สามารถแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ วิทยาศาสตร์ โปรแกรมระบบ และ realtime ได้

5) ภาษาปาสคาล (PASCAL)

ภาษาปาสคาลถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดย Professor Niktaus Wirth ของ Zurich เพื่อให้เป็นภาษาซึ่งใช้สำหรับสอนให้รู้จักการเขียนโปรแกรมที่เป็นโครงสร้าง และการออกแบบ โปรแกรมจากบนลงล่าง ชื่อ PASCAL นั้นตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักคณิตศาสตร์และปรัชญา ชื่อ Blaise Pascal ผู้ซึ่งผลิตเครื่องคำนวณ ภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ และสามารถใช้ได้รับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้

จุดเด่นๆของภาษา คือตัวแปรต่างๆที่ใช้ในโปรแกรมต้องมีการกำหนดชนิดของข้อมูล ข้อมูลที่ส่งผ่านจากโมดูลหนึ่งไปยังอีกโมดูลหนึ่งต้องมีชนิดเดียวกัน กรณีที่การส่งผ่านหรือค่าของข้อมูลที่ใช้ในโปรแกรม มีค่าผิดชนิด เมื่อทำการแปลภาษา จะมีข้อมูลความผิดพลาดปรากฎให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบ

ความเปลี่ยนแปลงในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Changes in Computer Programming)

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้งานนั้น จะสังเกตว่าแต่ละโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา มีบางโปรแกรมเท่านั้นที่ได้รับความนิยม บางโปรแกรมก็ยากที่ผู้ใช้จะใช้งานได้สะดวกยากต่อการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ทดสอบ และบำรุงรักษา และมีไม่น้อยที่การพัฒนาโปรแกรมประสบผลล้มเหลว ไม่สามารถพัฒนาได้สำเร็จหรือล่าช้าเกินกว่าที่กำหนด ซึ่งปัญหาต่างๆอาจจำแนกได้ดังนี้คือ

(1) Programmer productivity

เป็นปัญหาในกรณีที่โปรแกรมที่พัฒนาไม่สามารถเสร็จได้ทันตรงเวลากำหนดเวลา ซึ่งอาจเกิดจากไม่สามารถควบคุมเวลาในการทำงาน และวัดความก้าวหน้าของโปรแกรมได้

(2) Programming quality

โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา เป็นโปรแกรมที่มีคุณภาพไม่ดี อันเนื่องมาจากมีจ้อผิดพลาดมาก หรือไม่สามารถทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ได้ หรือโปรแกรมมีความซับซ้อนมาก ยากต่อการทดสอบ การเปลี่ยนแปลง การบำรุงรักษา และเอกสารของโปรแกรมไม่ดีพอด้วย

(3) Programming cost

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรม การทดสอบ การบำรุงรักษา และการทำให้ถูกต้อง สูงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

วัฏจักรในการพัฒนาระบบ (The Systems Development Cycle)




วิธีการในการพัฒนาระบบประมวลผลข้อมูล เรียกว่า system development หรือ application development หรือ system analysis and design แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน

(1) System investigation

เป็นขั้นตอนในการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งจะนำข้อมูลต่างๆที่ได้มากำหนดความต้องการของระบบ และศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบ กรณีที่สามารถพัฒนาระบบงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้จะดำเนินตามขั้นตอนขั้นต่อไป

(2) System analysis

เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์ในรายละเอียดถึงความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้ระบบ รวมทั้งความต้องกาของหน่วยงาน และระบบอื่นๆ ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในด้านของการประมวลผลทางด้านข้อมูลเข้า ข้อมูลออก หน่วยความจำ และควบคุมให้ได้ตรงตามความต้องกรซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของระบบ

(3) System design

เป็นขั้นตอนในการออกแบบระบบ โดยระบุถึงฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในระบบ เช่น อุปกรณ์และสื่อสารต่างๆที่ใช้ รวมทั้งซอฟต์แวร์ เช่น โปรแกรม และวิธีดำเนินงาน เป็นต้น บุคลากรในระบบ เช่นผู้ใช้ และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งออกแบบโครงสร้างของข้อมูล ทั้งในด้านข้อมูลเข้า และข้อมูลออก การประมวลผลข้อมูล หน่วยเก็บข้อมูล และฟังก์ชันควบคุมของระบบใหม่

(4) Software development

เป็นขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม โดยสร้างโปรแกรมขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้ ตามที่ได้ออกแบบระบบไว้

(5) System implementation

เป็นขั้นตอนของการใช้งาน โดยการนำเอกโปรแกรมที่พัฒนาเสร็จสมบูรณ์ ไปติดตั้งทำการทดสอบระบบ รวมทั้งฝึกฝน ให้ผู้ใช้ระบบ ให้สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ระบบใหม่นี้ได้

(6) System maintenance

เป็นขั้นตอนในการบำรุงรักษาระบบ โดยตรวจสอบหรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และแก้ไขระบบเมื่อต้องการ

เป็นตอนสุดท้ายสำหรับการศึกษา หลักการพัฒนาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ระยะต่างๆของการเขียนโปรแกรม (The Stages of the Programming Process)

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ วิธีการในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มของคำสั่งซึ่งสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเขียนคำสั่ง ในภาษาโปรแกรมต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นหลายระยะ คือ

(1) Program analysis

เป็นระยะของการวิเคราะห์ถึงจุดประสงค์ของงานประยุกต์ โดยกำหนดถึงหน้าที่ต่างๆที่จะให้โปแกรมทำงานได้

(2) Program design

เป็นระยะของการวางแผน และออกแบบ ถึงคุณลักษณะของข้อมูลเข้า ข้อมูลออก หน่วยเก็บข้อมูล วิธีดำเนินการประมวลผล

(3) Program coding

เป็นระยะของการเขียนคำสั่งภาษาโปรแกรม ซึ่งเปลี่ยนจาก Program design เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์

(4) Program verification

เป็นระยะของการตรวจทาน ทดสอบ โปรแกรมที่เขียนขึ้น ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ตรงความต้องการของระบบ ซึ่งเรียกว่า debugging และ testing

(5) Program documentation

เป็นระยะของการบันทึกรายละเอียดของการออกแบบ และรายละเอียดของโปรแกรม โดยจัดทำเป็นคู่มือ และเอกสาร ของระบบ

(6) Program maintenance

เป็นระยะของการปรับปรุง หรือสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งอาจจะขยายขีดความสามารถ หรือปรับปรุงให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

การตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม (Program Verification)



การตรวจทานโปรแกรม โดยทั่วไปเรียกว่า debugging ซึ่งเป็นระยะหนึ่งในการเขียนโปรแกรม ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบ (checking) การทดสอบ (testing) และ การทำให้ถูกต้อง (correction) เพราะการเขียนคำสั่งโปรแกรมใหม่ๆ อาจเกิดข้อผิดพลาด (bogs) ได้ง่าย

1. ข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม (Programming Error)

ข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ syntax , logic และ system design errors

Syntax error เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่งโปรแกรมผิดรูปแบบ ไวยากรณ์ของภาษา

Logic error เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้ตรรกผิดในโปรแกรม ซึ่งเงื่อนไขผิดมีผลให้การกระทำตามเงื่อนไขผิดไปด้วย

System design error เป็นข้อผิดพลาดจากการออกแบบระบบ ทำให้ผลของทำงานไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ ซึ่งความผิดพลาดนี้ อาจเกิดจากการสื่อสารระหว่างโปรแกรมเมอร์กับผู้วิเคราะห์ระบบ หรือผู้ใช้ระบบ ไม่ดี

ความผิดพลาดต่างๆ ในการเขียนโปรแกรม syntax error เป็นความผิดพลาดที่ค้นพบได้ง่ายกว่า logic error เพราะสามารถตรวจสอบพบได้ในระหว่างทำการแปลงภาษา ส่วน logic error จะตรวจสอบพบเมื่อโปรแกรมทำงานจนได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น

2. การตรวจสอบ (Checking)

การตรวจสอบโปรแกรม ต้องมีขึ้นระหว่างการออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม การตรวจทานโปรแกรม เพื่อให้แน่ใจสามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการ ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบถูกต้องตามตรรก ในการประมวลผล รวมทั้งคำสั่งโปรแกรมที่เขียนขึ้น สามารถแปลได้โดยปราศจากข้อผิดพลาดต่างๆ และสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

3. Structured walkthroughs

เป็นเครื่องมือของการออกแบบ เขียนคำสั่ง ตรวจสอบความผิดพลาดของการเขียนโปรแกรมที่ดี ซึ่งเป็นวิธีการที่ผู้เขียนโปรแกรม แสดงผลงานให้โปรแกรมเมอร์อื่นๆตรวจดู ซึ่งการทำงานนี้ เป็นแนวความคิดของการเขียนโปรแกรมเป็นทีมงาน ซึ่งมีการกำหนด ให้พัฒนาโปรแกรมเดียวกันภายใต้การควบคุมของหัวหน้าโปรแกรมเมอร์ (chief programmer) โดยสมาชิกในทีมงานจะช่วยกันตรวจดูถึงการออกแบบและการเขียนคำสั่งเป็นช่วงๆ เป็นประจำ ของแต่ละโมดูล ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายของการทวนสอบ (Verification) น้อยลง โดนสามารถพบความผิดพลาดได้ในระยะเริ่มแรกของการเขียนโปรแกรม โดยไม่ต้องคอยจนกระทั่งตรวจพบในระยะของการทดสอบโปรแกรม ซึ่งเป็นการยากที่ทราบว่าจุดใดที่เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย

การทดสอบ (Testing)




การทดสอบ เป็นการตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม โดยใช้ข้อมูลทดสอบ (test data) เพื่อดูผลลัพธ์จากการทำงาน การทดสอบที่ดีนั้นควรใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถกระทำได้ในทุกๆเงื่อนไข ในการทำงานของโปรแกรม รวมทั้งควรทดลองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องด้วย โปรแกรมที่ดีเมื่อใส่ข้อมูลผิดๆจะไม่เกิด error แต่จะแสดงข้อความเพื่อเตือนเท่านั้น

ในการเขียนโปรแกรมโครงสร้างที่ใช้โปรแกรมภาษาระดับสูงนั้น ผู้ทำการทดสอบโปรแกรม สามารถแบ่งการทดสอบโปรแกรมออกเป็นส่วนๆ ซึ่งเรียกว่า โมดูล เพื่อสะดวกในการทดสอบซึ่งง่ายต่อการค้นหาข้อผิดพลาด และง่ายต่อการแก้ไขให้ถูกต้องด้วย เมื่อทดสอบโมดูลย่อยๆ เหล่านี้จนไม่มีข้อผิดพลาด จึงนำมารวมเป็นโปรแกรมหลัก เพื่อทดสอบโปรแกรมหลักอีกครั้งหนึ่ง

การทดสอบโปรแกรมกรณีที่ต้องการให้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา แทนที่การประมวลผลข้อมูลเก่าซึ่กำลังดำเนินอยู่ การทดสอบต้องกระทำขนานกันไปกับระบบเก่า ซึ่งเรียกการประมวลผลแบบนี้ว่า parallel processing ดังนั้นการทดสอบระบบต้องทดสอบจนกว่าจะแน่ใจว่าสามารถกระทำแทนที่ระบบเก่าได้ จึงจะนำเอาการปฏิบัติงานของระบบเก่าออกไปได้

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

หลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม



หลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรม
1. ความหมายของโปรแกรม
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่งหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ เราจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่ง ซึ่งต้องสั่งเป็นขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่า "โปรแกรม" ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
1.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
1.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งแต่ละโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
1.1.1 OS (Operating System)
คือโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นควบคุมหน่วยความจำควบคุมหน่วยประมวลผลควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์มาทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังเข้ามาช่วยจัดสรรการใช้ทรัพยากรในเครื่องและช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเปิดหรือปิดไฟล์การสื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง การส่งข้อมูลออกสู่เครื่องพิมพ์หรือจอภาพ เป็นต้น ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่าง ๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบอยู่หลายตัวด้วยกัน ซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน ดังนี้
- DOS (Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.x ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส
- UNIX เป็นระบบ ปฏิบัติการที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายโดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัวและสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ถึงทั่วโลกโดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูลนิยมใช้แพร่หลายในมหาวิทยาลัยหน่วยงานรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆใช้ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์
- Linux เป็นระบบปฏิบัติการตัวหนึ่งเช่นเดียวกับ DOS,Windows และ Unix แต่ Linux นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่งในปัจจุบันนี้มีการใช้ Linux กันมากเนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบ Linux ได้พัฒนาขึ้นมามากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของGNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรมระบบ Linux และนอกจากนั้น Linux ยังสามารถทำงานได้บน CPU ทั้ง 3 ตระกูลคือบน CPU ของอินเทล (PCIntel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ (SUNSPARC) ปัจจุบันนี้ได้มีการนำระบบปฏิบัติการ Linux ไปประยุกต์ใช้เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายสำหรับงานด้านต่างๆ เช่นงานด้านการคำนวณสถานีงานสถานีบริการต่างๆ ระบบอินเทอร์เน็ตภายในองค์กรใช้ในการเรียนการสอน การทำวิจัยทางคอมพิวเตอร์ การพัฒนาโปรแกรม เป็นต้น
- LAN เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้เชื่อมโยงกันใกล้ ๆ เช่น ในอาคารเดียวกันหรือระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้กัน โดยใช้สาย Lan เป็นตัวเชื่อมโยง
- WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่นแล้ว Windows 2000 แล้ว บริษัทไม่โครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3.x ที่ใช้ร่วมกันอยู่ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกันแต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and Play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็น
- WINDOWS NT เป็นระบบ OS ที่ผลิตมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เม้าส์ คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน
1.1.2 Translation Program
คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรม หรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่องหรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น ภาษาBASIC,COBOL,C,PASCAL, FORTRAN,ASSEMBLY เป็นต้น สำหรับตัวแปลนั้นจะมีอยู่ 3 แบบคือ
- Assembler เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาแอสแซมบลี ซึ่งมีลักษณะการแปรทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อย ๆ จนจบ
- อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับคอมไพล์เลอร์แต่จะแปลพร้อมกับทำงานตามคำสั่งทีละคำสั่งตลอดไปทั้งโปรแกรม ทำให้การแก้ไขโปรแกรมทำได้ง่ายปละรวดเร็ว การแปลโดยใช้อินเตอร์พรีเตอร์จะไม่สร้างโปรแกรมเรียกใช้งาน ดังนั้นจะต้องทำการแปลใหม่ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้งาน ตัวอย่างตัวแปลภาษาที่ใช้ตัวแปลอินเตอร์พรีเตอร์ เช่น ภาษาเบสิก (BASIC)
- คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูง เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาโคบอลและภาษาฟอร์เเทรน การทำงานจะใช้หลักการแปลโปรแกรมต้นฉบับทั้งโปรแกรมให้เป็นโปรแกรมเรียกใช้งาน (executable program) ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ เมื่อต้องการเรียกใช้งานโปรแกรมก็สามารถเรียกใช้จากไฟล์เรียกใช้งานโดยไม่ต้องทำการแปลหรือคอมไพล์อีก ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่คอมไพล์โปรแกรมต้นฉบับที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูง คอมไพล์เลอร์จะตรวจสอบโครงสร้างไวยกรณ์ของคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณและเปรียบเทียบต่อจากนั้นคอมไพล์เลอร์จะสร้างรายการข้อผิดพลาดของโปรแกรม (Program Listing) เพื่อใช้เก็บโปรแกรมต้นฉบับและคำสั่งที่เขียนไม่ถูกต้องตามกฎหรือโครงสร้างของภาษานั้น ๆ ไฟล์นั้นมีประโยชน์ในการช่วยโปรแกรมเมอร์ในการแก้ไขโปรแกรม (Debug)
1.1.3 Utility Program
คือโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2 ชุดด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูล เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ทำงานในด้านนี้ ได้แก่ Pctools,Sidekick,PKZIP,PKUNZIP Norton Utility เป็นต้น
1.1.4 Diagnostic Program
คือโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อผิดพลาด ในการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม QAPLUS โปรแกรม NORTON เป็นต้น และเมื่อพบข้อผิดพลาดก็จะแจ้งขึ้นมาบนจอภาพให้ทราบ เช่น ถ้ามีการตรวจสอบแล้วปรากฏว่า Keyboard บางปุ่มเสียไปก็จะแจ้งบอกขึ้นมาเป็นรหัสให้ผู้ใช้ทราบ หรือในกรณีที่ Card จอปกติไม่สามารถแสดงภาพได้ ก็จะบอกในลักษณะของเสียงแทน เช่นเดียวกับ RAM ถ้าเสียก็จะมีเสียงบอกขึ้นมา
1.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนขึ้นมาใช้เองเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1.2.1 User Program
คือโปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นมาใช้เองโดยใช้ภาษาระดับต่างๆทางคอมพิวเตอร์เช่นภาษาBASICCOBOL,PASCAL,C,ASSEMBLY,FORTRAN ฯลฯ ซึ่งจะใช้ภาษาใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้น เช่น โปรแกรมระบบบัญชี,โปรแกรมควบคุมสต็อกสินค้า,โปรแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ,โปรแกรมคำนวณภาษี,โปรแกรมคอดเงินเดือน เป็นต้น
1.2.2 Package Program
คือโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำมาใช้งานต่าง ๆ ได้ทันที ตัวอย่างเช่น
- Word Processer โปรแกรมที่ช่วยในการทำเอกสาร พิมพ์งานต่าง ๆ เช่น เวิร์ดจุฬา,เวิร์ดราชวิถี,Microsoft Word,WordPerfect,Amipro เป็นต้น
- Spreadsheet โปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณข้อมูล มีลักษณะเป็นตาราง เช่น Lotus 1-2-3,Microsoft Excel เป็นต้น
- Database โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านฐานข้อมูลจะใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ และมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่นdBASEIIIPlus, Foxbase, Microsoft Access Foxpro, Visual Foxpro, Pracle, Infomix, DB2 เป็นต้น
- Graphic โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านสร้างรูปภาพและกราฟิกต่าง ๆ รวมทั้งงานทางด้านสิ่งพิมพ์ การทำโบรชัวร์ แผ่นพับ นามบัตร เช่น CorelDraw, Photoshop, Harvard Graphic, Freelance Graphic, PowerPoint, PageMaker เป็นต้น
- Internet โปรแกรมที่ใช้งานบน Internet เท่านั้น โดนจะต้องเรียกใช้ผ่านทาง Browser ซึ่งอาจจะเป็น Netscape Communicator หรือ Internet Explorer โดยการติดตั้งผ่านทางแผ่น CD-Rom หรือ Download ขึ้นมาติดตั้งก็ได้ สำหรับโปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2. ขั้นตอนการพัฒนาระบบ
วัฏจักรในการพัฒนาระบบ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนคือ
2.1 System investigation
เป็นขั้นตอนในการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ซึ่งจะนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มากำหนดความต้องการของระบบและศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบ กรณีที่สามารถพัฒนาระบบงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ จะดำเนินงานตามขั้นตอนขั้นต่อไป
2.2 System analysis
เป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์ในรายละเอียดถึงความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้ระบบรวมทั้งความต้องการของหน่วยงานและระบบอื่นๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในด้านการประมวลผลทางด้านข้อมูลเข้า (input) ข้อมูลออก (output) หน่วยความจำ (storage) และควบคุมให้ได้ตรงตามความต้องการซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของระบบ
2.3 System design
เป็นขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม โดยระบุถึงฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในระบบ เช่น อุปกรณ์และสื่อต่างๆ ที่ใช้ รวมทั้งซอฟต์แวร์ เช่น โปรแกรมและวิธีการดำเนินงาน (procedure) เป็นต้น บุคลากรในระบบ เช่น ผู้ใช้และผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งออกแบบโครงสร้างของข้อมูลทั้งในด้านข้อมูลเข้าข้อมูลออก การประมวลผลข้อมูล หน่วยเก็บข้อมูล (storage) และฟังก์ชันควบคุมของระบบใหม่
2.4 Software development
เป็นขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม โดยสร้างโปรแกรมขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ได้ออกแบบระบบไว้
2.5 System implementation
เป็นขั้นตอนของการใช้งาน โดยการนำเอาโปรแกรมที่พัฒนาสมบูรณ์ไปติดตั้งทำการทดสอบระบบรวมทั้งฝึกฝนให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานโดยใช้ระบบใหม่นี้ได้
2.6 System maintenance
เป็นขั้นตอนในการบำรุงรักษาระบบ โดยตรวจสอบหรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์และแก้ไขระบบเมื่อต้องการ

3. ระยะต่าง ๆ ของการเขียนโปรแกรม (The Stages of the Programming Process)
การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ วิธีการในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของคำสั่งซึ่งสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลหรือกิจกรรมต่างๆซึ่งเกี่ยวของกับการเขียนคำสั่งในภาษาโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นหลายระยะคือ
3.1 Program analysis
เป็นระยะของการวิเคราะห์ถึงจุดประสงค์ของงานประยุกต์ โดยกำหนดถึงหน้าที่ต่าง ๆ ที่จะให้โปรแกรมทำงานได้
3.2 Program design
เป็นระยะของการวางแผนและออกแบบถึงคุณลักษณะของข้อมูลเข้า (input) ข้อมูลออก (output) หน่วยเก็บข้อมูล วิธีดำเนินการประมวลผล
3.3 Program coding
เป็นระยะของการเขียนคำสั่งภาษาโปรแกรมซึ่งเปลี่ยนจาก Program design เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์
3.4 Program verification
เป็นระยะของการตรวจทานทดสอบโปรแกรมที่เขียนขึ้นให้ถูกต้องและสมบูรณ์ตรงตามความต้องการของระบบ ซึ่งเรียกว่า debugging และ testing
3.5 Program documentation
เป็นระยะของการบันทึกรายละเอียดของการออกแบบและรายละเอียดของโปรแกรม โดยจัดทำเป็นคู่มือและเอกสารของระบบ
3.6 Program maintenance
เป็นระยะของการปรับปรุงหรือสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นซึ่งอาจจะขยายขีดความสามารถหรือปรับปรุงให้ถูกต้องยิ่งขึ้น

4. การวิเคราะห์โปรแกรม (Program analysis)
การวิเคราะห์โปรแกรมเป็นขั้นตอนแรกในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยการวิเคราะห์ถึงหน้าที่ต่างๆ ของโปรแกรมโดยแบ่งเป็นงานหรือฟังก์ชันฟังก์ชันหนึ่งอาจปฏิบัติการได้ก็ต่อเมื่อปฏิบัติงานอีกฟังก์ชันหนึ่งเสร็จก่อน การวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ของโปรแกรมอาจเป็นปัญหาสั้นๆ พื้นฐานหรือปัญหาทางคณิตศาสตร์ซับซ้อน ซึ่งจะต้องกำหนดปัญหา (Problem Definition) และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (Problem Specification) ในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน ในกรณีที่งานประยุกต์เป็นงานประมวลผลข้อมูลการวิเคราะห์โปรแกรมควรวิเคราะห์ถึงข้อกำหนดรายละเอียดของซอฟต์แวร์ (Software Specification) ในระยะของการออกแบบ (Design Stage) หรือความต้องการในรายละเอียดของโปรแกรม (Program Specification) อย่างเช่น
1. Output โดยวิเคราะห์ว่าผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไรบ้าง
2. Input โดยวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่สามารถเรียกหาได้มีอะไรได้บ้าง
3. Storage โดยวิเคราะห์ว่าข้อมูลจะเก็บ (store) หรือดึง (retrieved) หรือแก้ไขในหน่วยเก็บข้อมูลอะไร
4. Processing โดยวิเคราะห์ถึงวิธีการประมวลผลต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การเปรียบเทียบและกรรมวิธีอื่น ๆ
5. Control procedure โดยวิเคราะห์วิธีการควบคุมการทำงานของโปรแกรม

5. การออกแบบโปรแกรม (Program design)
ระยะของการออกแบบโปรแกรมเป็นระยะของการวางแผนและออกแบบโดยระบุคุณลักษณะของข้อมูลเข้า (Input) ข้อมูลออก (Output) กรรมวิธีการประมวลกำหนดรายละเอียดของหน่วยเก็บข้อมูลและวิธีการควบคุมซึ่งค่าของความพยายาม (effort) ในการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของงานประยุกต์และจำนวนของงานในระบบโดยปกติจะเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ทงตรรกะและคำสั่งที่ระบุถึงการปฏิบัติงานซึ่งเรียกว่าโมดุล (modules หรือ subdivisions) โดยแต่ละโมดุลจะมีส่วนของการกำหนดค่าเริ่มต้น (initialization) ข้อมูลเข้า (input) ประมวลผล (processing) และส่วนแสดงผล (output) และส่วนของการสิ้นสุดหรือเลิกใช้ (termination) โมดุลโปรแกรมส่วนมากมีโมดุลควบคุมใช้สำหรับตรวจสอบและควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น
1. ลำดับของการประมวลผล (order of processing)
2. ขั้นตอนการทำงานซ้ำ ๆ (looping)
3. เงื่อนไขยกเว้น เช่น ข้อผิดพลาดต่าง ๆ (errors)
4. สิ่งเบี่ยงเบนจากการประมวลผลปกติ (other deviations form normal processing require)

6. การเขียนคำสั่งโปรแกรม (Program coding)
การเขียนคำสั่งโปรแกรมเป็นขั้นตอนในการแปลง (convert) ตรรกะที่ได้ออกแบบในระยะการออกแบบโปรแกรมให้เป็นกลุ่มของคำสั่งโปรแกรมภาษาเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามโปรแกรมภาษาในปัจจุบันมีมากมายหลายภาษา ซึ่งเหมาะกับงานด้านต่าง ๆ ซึ่งแต่ละภาษามีการเขียนที่แตกต่างกัน ทั้งรูปแบบ กฎเกณฑ์ต่างๆ ดังนั้นผู้เขียนควรศึกษารูปแบบและกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ก่อนโปรแกรมใดๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน จะประกอบด้วยคำสั่งโครงสร้างพื้นฐาน 3 อย่างคือ
1. แบบลำดับ (Sequence)
2. แบบทางเลือก (Selection)
3. แบบวนรอบ (Loop หรือ Repetition)
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเขียนโปรแกรมโครงสร้างแบบบนลงล่าง (top-down structure) จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมเป็นมาตรฐาน (standardizes) และเข้าใจได้ง่าย รวมทั้งการแก้ไขง่ายอีกด้วย
Sequence Structure
เป็นโครงสร้างลำดับ ซึ่งแสดงถึงลำดับของคำสั่งหรือการปฏิบัติงานกล่าวคือคำสั่งซึ่งอยู่ก่อนจะถูกปฏิบัติงานก่อนดังนั้นคำสั่งโปรแกรมซึ่งเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ก่อนถูกทำงานก่อน
Selection Structure
โครงสร้างทางเลือก หรือเรียกว่า decision หรือ IF-THEN-ELSE ก็ได้ เป็นโครงสร้างซึ่งแสดงทางเลือกของการทำงาน โดยขึ้นกับผลของเงื่อนไข โดยเงื่อนไขนี้ผลลัพธ์มี 2 ทางคือ จริง (True) และเท็จ (False) ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำอย่างหนึ่ง ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะกระทำอีกอย่างหนึ่ง
Repetition (Loop) Structure
โครงสร้างวนรอบ หรือเรียกว่า DO-WHILE หรือ DO-UNTIL ก็ได้ เป็นโครงสร้างที่กระทำหน้าที่หรือคำสั่งซึ่งขึ้นกับเงื่อนไข โดยการทำงานจะเป็นการทำงานซ้ำ ๆ กัน ซึ่งจะหยุดการทำงานวนรอบก็ต่อเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ (False)

7. การตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม (Program Verification)
การตรวจทานโปรแกรมโดยทั่วไปเรียกว่าdebuggingซึ่งเป็นระยะหนึ่งในการเขียนโปรแกรมรวมถุงการตรวจสอบ (checking) การทดสอบ (testing) และการทำให้ถูกต้อง (correction) เหราะการเขียนคำสั่งโปรแกรมใหม่ ๆ อาจเกิดข้อผิดพลาด (bugs) ได้ง่าย
7.1 ข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม (Programming Error)
ข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดคือsyntaxerrors,logicerrors แล ะsystem design errors
Syntax errors เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเขียนคำสั่งโปรแกรมผิดรูปแบบไวยกรณ์ของภาษา
Logic errors เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้ตรรกะผิดในโปรแกรม ซึ่งเงื่อนไขผิดมีผลให้การกระทำตามเงื่อนไขผิดไปด้วย
System design errors เป็นข้อผิดพลาดจากการออกแบบระบบทำให้ผลของการทำงานไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ซึ่งความผิดพลาดนี้ อาจเกิดจากการสื่อสารระหว่างโปรแกรมเมอร์กับผู้วิเคราะห์ระบบหรือผู้ใช้ระบบไม่ดี
Syntax errors เป็นความผิดพลาดที่ค้นพบได้ง่ายกว่า logic errors เพราะสามารถตรวจพบได้ในระหว่างการทำการแปลภาษา ส่วน logic errors จะตรวจพบเมื่อโปรแกรมทำงานจนได้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องเท่านั้น
7.2 การตรวจสอบ (checking)
การตรวจสอบโปรแกรมต้องมีขึ้นระหว่างการออกแบบโปรแกรม,การเขียนโปรแกรม,การตรวจทานโปรแกรมเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบถูกต้องตามตรรกะในการประมวลผลรวมทั้งคำสั่งโปรแกรมที่เขียนขึ้นสามารถแปลได้โดยปราศจากข้อผิดพลาดต่างๆและสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
7.3 Structured walkthroughs
เป็นเครื่องมือของการออกแบบ,เขียนคำสั่ง,ตรวจสอบข้อผิดพลาดของการเขียนโปรแกรมที่ดีซึ่งเป็นวิธีการที่ผู้เขียนโปรแกรมแสดงผลงานให้โปรแกรมเมอร์อื่นๆตรวจสอบดูซึ่งการทำงานนี้เป็นแนวคาวมคิดของการเขียนโปรแกรมเป็นทีมงานซึ่งมีการกำหนดให้พัฒนาโปรแกรมเดียวกันภายใต้การควบคุมของหัวหน้าโปรแกรมเมอร์ (chiefprogrammer) โดยสมาชิกในทีมงานจะช่วยกันตรวจดูถึงการออกแบบและการเขียนคำสั่งเป็นช่วงๆ เป็นประจำของแต่ละโมดุล ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายของการทวนสอบ (Verification) น้อยลง โดยสามารถพบข้อผิดพลาดได้ในระยะเริ่มแรกของการเขียนโปรแกรม โดยไม่ต้องคอยจนกระทั่งตรวจพบในระยะของการทดสอบโปรแกรม ซึ่งเป็นการทราบที่จะทราบว่าจุดใดที่เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย
7.4 การทดสอบ (testing)
การทดสอบเป็นการตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมโดยใช้ข้อมูลทดสอบ (testdata) เพื่อดูผลลัพธ์จากการทำงานการทดสอบที่ดีนั้นควรใช้ข้อมูลที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถกระทำได้ในทุกๆ เงื่อนไขในการทำงานของโปรแกรมรวมทั้งควรทดลองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องด้วยโปรแกรมที่ดีเมื่อใส่ข้อมูลผิดๆ จะไม่เกิด error แต่จะแสดงข้อความเพื่อเตือนเท่านั้นในการเขียนโปรแกรมโครงสร้างที่ใช้โปรแกรมภาษาระดับสูงนั้นผู้ทำการทดสอบโปรแกรมสามารถแบ่งการทดสอบโปรแกรมออกเป็นส่วนๆ ซึ่งเรียกว่า โมดุล เพื่อสะดวกในการทดสอบซึ่งง่ายต่อการค้นหาข้อผิดพลาดและง่ายต่อการแก้ไขให้ถูกต้องด้วยเมื่อทดสอบโมดุลย่อยๆ เหล่านี้จนไม่มีข้อผิดพลาดจึงนำมาเป็นโปรแกรมหลักอีกครั้งหนึ่ง การทดสอบโปรแกรมกรณีที่ต้องให้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาแทนที่การประมวลผลเก่าซึ่งกำลังดำเนินอยู่การทดสอบต้องกระทำขนานกันไปกับระบบเก่าซึ่งเรารียกการประมวลผลนี้ว่า parallel processing ดังนั้นการทดสอบระบบต้องทดสอบจนกว่าจะแน่ใจว่าสามารถกระทำแทนที่ระบบเก่าได้จึงจะนำเอาการปฏิบัติงานของระบบเก่าออกไปได้

8. เอกสารโปรแกรม (Program documentation)
เป็นเอกสารซึ่งบันทึกรายละเอียดของการออกแบบการเขียนคำสั่งซึ่งมีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ความผิดพลาดของโปรแกรม การแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมหรือการรวมโปรแกรมกรณีเกิดการสูญหาย โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์หลักที่เขียนโปรแกรมเกิดลาออกไป ดังนั้นควรเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เอาไว้

9. การบำรุงรักษาโปรแกรม (Program maintenance)
ขั้นตอนสุดท้ายในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเริ่มหลังจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นนั้นเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้และได้ปฏิบัติงานมาแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาเกิดความจำเป็นบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ต้องการปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น หรือต้องการแก้ไขหน้าที่บางอย่างหรือต้องการขยายขีดความสามารถของโปรแกรม หรืออาจเกิดจากความผิดพลาดในโปรแกรมต้องการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยอาจมีผลมาจากนโยบายของบริษัทที่เปลี่ยนไป หรือระเบียบทางราชการบังคับ หรือการแข่งขันทางธุรกิจ ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นได้กับทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบ การบำรุงรักษาเป็นหน้าที่หลักของการประมวลผลข่าวสารของหน่วยงานเกี่ยวของกับการวิเคราะห์ การออกแบบ การเขียนคำสั่ง การตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงเอกสารให้ทันสมัย ซึ่งจะมี Maintenance Programmers เป็นผู้ที่รับผิดชอบหน้าที่บำรุงรักษาโปรแกรม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้เขียนโปรแกรมกับผู้ที่บำรุงรักษาโปรแกรมจะเป็นคนละทีมงานกัน ดังนั้นจึงเป็นการยากที่ต้องแก้ไขโปรแกรมที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมา ดังนั้นสิ่งสำคัญของการเขียนโปรแกรมโครงสร้างจะช่วยให้การเขียนโปรแกรมเป็นมาตรฐานและทำให้ง่ายต่อการอ่านและเข้าใจ